Page 22 - Modern Management11
P. 22

นโยบายสาธารณะกับการบริหารจัดการสมัยใหม่

               จี (BCG Growth-Share Matrix ) หรือที่เรียกว่า BCG แมทริกซ์ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทที่ปรึกษาด้านการ

               วางแผนและการจัดการที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา ชื่อ Boston Consulting Group (BCG) ในช่วงปี 1970
               โดยใช้ตารางแบบสองมิติ (2 X 2) เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนแบ่งทางการตลาด (Relative Market

               Share ) เปรียบเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม (Industrial  Growth Rate)  ของแต่ละหน่วย

               ธุรกิจภายในองค์กร ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่อง คือ
                       1. เครื่องหมายค าถาม (Question Mark) หรือเด็กมีปัญหา (Problem Child) หมายถึง หน่วยธุรกิจที่มี

               โอกาสที่ดีในการเจริญเติบโต แต่ยังมีส่วนครองตลาดน้อย จึงต้องมีการทุ่มเทความพยายามและการลงทุนใน

               การพัฒนาธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับ      และมั่นคงขึ้น        เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในอนาคต

                              2. ดาว (Star) หมายถึงหน่วยธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง มีส่วนแบ่งตลาดเปรียบเทียบสูง จึง
               สมควรที่จะลงทุนอย่างต่อเนื่อง              เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและความเข้มแข็งขององค์กร

                              3. วัวนม (Cash Cow) หมายถึงหน่วยธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่คงที่ (ต ่า) แต่มีส่วนแบ่งตลาด

               เปรียบเทียบสูง  และให้ผลตอบแทนที่สม ่าเสมอและเป็นกอบเป็นก า  สามารถน ามาใช้ลงทุนเพิ่มหรือการ

               พัฒนาธุรกิจอื่นต่อไปได้
                               4.  สุนัข  (Dog)  หมายถึงหน่วยธุรกิจที่เฉื่อยชาและไม่มีอนาคต  มีอุปสรรคในด้านการแข่งขันและ

               ทางด้านการตลาด  มีอัตราการเจริญเติบโตต ่า  และมีส่วนแบ่งการตลาดเปรียบเทียบลดลงมาก  โดยผู้บริหาร

               หน่วยธุรกิจที่อยู่ในสถานะสุนัขสมควรใช้กลยุทธ์ถอนตัว  โดยการลดขนาดหรือเลิกกิจการไปท าธุรกิจอื่น
               หรืออาจจะใช้กลยุทธ์การฟื้นฟู                     โดยลองท าอะไรใหม่แทนเพื่อที่ธุรกิจจะฟื้นตัวได้



               ขั้นตอนที่ 3 : การก าหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation)
                       น าข้อมูลของสภาพแวดล้อมและทิศทางขององค์การมาก าหนดกลยุทธ์  ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการ

               ด าเนินงานและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ

               การจัดการเชิงกลยุทธ์  เน้นหนักไปในการตรวจจับ  และประเมินโอกาสภายนอกที่จะเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจ
               (Opportunities)  ตลอดจนสิ่งที่จะมาคุกคามองค์กรธุรกิจ  (Threats)  เพื่อให้สอดคล้องกับจุดแข็งและจุดอ่อน

               ของธุรกิจ เพื่อความอยู่รอด เพื่อความสามารถในการแข่งขัน ศักยภาพในการด าเนินงานและการเจริญเติบโต

               อย่างยั่งยืนขององค์กร  โดยการแบ่งระดับของกลยุทธ์  (Levels  of  Strategy)  ในการด าเนินธุรกิจออกเป็น  3

               ระดับคือ
               ระดับของกลยุทธ์

               1. กลยุทธ์หลักหรือกลยุทธ์บริษัท (Grand / Corporate Strategy)

                       เป็นกลยุทธ์ทั่วไปขององค์กรที่สร้างขึ้น  เพื่อเป็นหลักส าหรับการด าเนินงานของทั้งธุรกิจ  โดยการ
               ก าหนดอุตสาหกรรมและการจัดสรรทรัพยากรของธุรกิจ       เพื่อช่วยให้องค์การบรรลุเป้ าหมายในระยะยาว

               ผู้บริหารจะต้องพยายามปรับปรุงหรือรักษาการท างานขององค์การให้บรรลุเป้าหมาย  ผ่านการสร้างโอกาส

               จากสภาพแวดล้อมและจุดแข็งภายในองค์กร       ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามลดอุปสรรคจากสภาพแวดล้อม




               ดร. สุกฤตา  สุวรรณกฤติ
                                                                                                            22
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27