Page 76 - เนื้อหา
P. 76
จากช่วงเวลาที่แสดงด้านบนนั้น ช่วงระยะเวลาที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนและจ าหน่ายหุ้นกู้จึงไม่
ต้องจ่ายดอกเบี้ย ในช่วงระยะเวลาที่ 2 โดยเริ่ม 1 เมษายน ถึง 1 ตุลาคม รวม 6 เดือน เป็นวันที่ได้จด
ทะเบียน และเป็นช่วงเวลาที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยงวดที่ 1 ช่วงเวลาที่ 3 โดยเริ่ม 1 ตุลาคมถึง 31
ธันวาคม เป็นช่วงเวลาที่บริษัทเกิดดอกเบี้ยจ่าย แต่งวดจ่ายดอกเบี้ยจะเป็นวันที่ 1 เมษายนของปี
ถัดไป ดังนั้นช่วงเวลาที่ 3 จึงต้องปรับปรุงดอกเบี้ยค้างจ่ายในการบันทึกบัญชีการจ าหน่ายหุ้นกู้ใน
ลักษณะนี้จะมี 3 ขั้นตอนเหมือนกับการจ าหน่ายหุ้นกู้ตรงกับงวดบัญชีและตรงกับงวดดอกเบี้ย ดังนี้
2.1 วันที่จ ำหน่ำยหุ้นกู้ ซึ่งบริษัทจะจ าหน่ายหุ้นกู้ในวันที่จดทะเบียนได้ทั้งหมด โดสามารถ
จ าหน่ายได้ 3 ราคา และการบันทึกบัญชีจะบันทึกเหมือนกับลักษณะจ าหน่ายหุ้นกู้ตรงกับงวดบัญชี
และตรงกับงวดดอกเบี้ย
2.2 วันที่จ่ำยดอกเบี้ย บริษัทจะต้องก าหนดงวดการจ่ายดอกเบี้ยปีละครั้งหรือสองครั้งซึ่ง
จะต้องก าหนดไว้อย่างชัดเจน ในการบันทึกบัญชีจะปฏิบัติเหมือนกับลักษณะจ าหน่ายหุ้นกู้ตรงกับงวด
บัญชีและตรงกับงวดดอกเบี้ย แต่รายการที่แตกต่างไปจากเดิมที่ต้องบันทึกบัญชีเพิ่ม คือรายการ
ปรับปรุงดอกเบี้ยค้างจ่ายของทุกปี ตามช่วงเวลาของการจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้งวดสุดท้ายถึงวันที่ 31
ธันวาคม ของทุกปี การบันทึกบัญชีจะเป็นดังนี้
ธ.ค. 31 เดบิต ดอกเบี้ยจ่าย XXX
เครดิต ดอกเบี้ยค้างจ่าย XXX
ปรับปรุงดอกเบี้ยค้างจ่าย
2.3 วันที่ตัดส่วนเกินมูลค่ำหุ้นกู้หรือส่วนต่ ำมูลค่ำหุ้นกู้ จะถือปฏิบัติเหมือนกับลักษณะ
การจ าหน่ายหุ้นกู้ตรงกับงวดบัญชีและตรงกับงวดดอกเบี้ยทุกเรื่อง เว้นแต่ระยะเวลาของการตัด
ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้หรือส่วนต่ ามูลค่าหุ้นกู้ปีแรกและปีสุดท้ายจะไม่ครบ 12 เดือน แต่เมื่อน าระยะเวลา
ของปีแรกกับปีสุดท้ายมารวมกันจะได้ 12 เดือนพอดี
~ 72 ~