Page 10 - 06_การปองกนและปราบปรามการทจรต_Neat
P. 10
๓
…พอเพียงมีความหมายกวางขวางยิ่งกวานี้อีก คือคําวาพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแคนั้นเอง
คนเราถาพอในความตองการก็มีความโลภนอย เมื่อมีความโลภนอยก็เบียดเบียนคนอื่นนอย
ถาประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดวาทําอะไรตองพอเพียง หมายความวาพอประมาณ
ซื่อตรง ไมโลภอยางมาก คนเราก็อยูเปนสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได
แตวาตองไมไปเบียดเบียนคนอื่น…”
“…ก็ชัดแลววาควรจะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงไมตองทั้งหมด เพียงครึ่งหนึ่งก็ใชได แมจะ
เปนเศษหนึ่งสวนสี่ก็พอ หมายความวาวิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไมตองทําทั้งหมด และขอเติมวา
จะทําทั้งหมดก็จะทําไมได ถาครอบครัวหนึ่ง หรือแมหมูบานหนึ่งทําเศรษฐกิจพอเพียงรอยเปอรเซ็นต
ก็จะเปนการถอยหลังถึงสมัยหินสมัยคนอยูในอุโมงคหรือในถํ้า ซึ่งไมตองอาศัยหมูอื่น เพราะวาหมูอื่น
ก็เปนศัตรูทั้งนั้น ตีกัน ไมใชรวมมือกันจึงตองทําเศรษฐกิจพอเพียง แตละคนตองหาที่อยู ก็หาอุโมงค
หาถํ้า ตองหาอาหาร คือไปเด็ดผลไมหรือใบไมตามที่มี หรือไปใชอาวุธที่ไดสรางไดประดิษฐเอง
ไปลาสัตว กลุมที่อยูในอุโมงคในถํ้านั้น ก็มีเศรษฐกิจพอเพียงรอยเปอรเซ็นต ก็ปฏิบัติได…”
“…คนเราถาพอในความตองการ ก็มีความโลภนอย เมื่อมีความโลภนอย ก็เบียดเบียน
คนอื่นนอย ถาทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไมใชเศรษฐกิจ มีความคิดวา ทําอะไรตองพอเพียง หมายความวา
พอประมาณ ไมสุดโตง ไมโลภมาก คนเราก็อยูเปนสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก ตองใหพอประมาณ
ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทําอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง…”
นอกจากพระราชดํารัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในป ๒๕๔๑ แลว ก็ยังมีพระราชดํารัส
เกี่ยวกับ “ความฟุงเฟอ” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงพระราชทานไวในป พ.ศ.๒๕๒๗
พระราชทานแกคณะลูกเสือชาวบาน ในโอกาสเสด็จกลับจากการแปรพระราชฐานจังหวัดสกลนคร
ความตอนหนึ่งวา
“…คนเราที่ฟุงเฟอ ไมมีทางที่จะหาทรัพยมาปอนความฟุงเฟอได ความฟุงเฟอนี้เปนปาก
หรือสัตวที่หิวไมหยุด ความฟุงเฟอนี้อาปากตลอดเวลา จะปอนไปเทาไรๆ ก็ไมพอ เมื่อปอนเทาไรๆ
ก็ไมพอแลว ก็หาเทาไรๆ ก็ไมพอ ความไมพอนี้ไมสามารถที่จะหาอะไรมาปอนความฟุงเฟอนี้ได ฉะนั้น
ถาจะตอตานความเดือดรอน ไมใชวาจะตองประหยัดมัธยัสถ จะตองปองกันความฟุงเฟอและปองกัน
วิธีการที่มักจะใชเพื่อที่จะมาปอนความฟุงเฟอนี้คือ ความสุจริต ฉะนั้นการที่จะรณรงคที่จะตอสูเพื่อให
คนมัธยัสถและประหยัดนั้นก็อยูที่ตัวเอง ไมใชอยูที่คนอื่น เมื่ออยูที่ตนเองไมอยูที่คนอื่น การรณรงค
โดยมากมักออกไปขางนอก จะไปชักชวนคนโนนชักชวนคนอื่นนี้ใหทําโนนทํานี่ ที่จริงตองทําเอง
ถาจะใชคําวารณรงคก็ตองรณรงคกับตัวเอง ตองฝกตัวใหรูจักความพอดี พอเหมาะ ถาไมพอดี
ไมพอเหมาะมันจะเกิดทุจริตในใจได…”
“เศรษฐกิจพอเพียง” เปนแนวพระราชดําริในพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ที่พระราชทาน
มานานกวา ๔๐ ป ซึ่งเปนแนวคิดที่ตั้งอยูบนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เปนแนวทางการพัฒนา
ขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยูบนทางสายกลาง และความไมประมาทซึ่งคํานึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล