Page 17 - 07_ความรเบยงตนเกยวกบกฎหมาย_Neat
P. 17
๘
จากกฎหมายที่ฝายนิติบัญญัติใหไว (การตรากฎหมายของฝายบริหารนี้ จึงเปนเรื่องยกเวนและมีอํานาจ
จํากัด) กฎหมายบริหารบัญญัติในระบบกฎหมายไทย แบงออกเปน ๒ ประเภท ไดแก พระราชกําหนด
และกฎหมายลําดับรอง
¾ÃÐÃÒªกํา˹´
พระราชกําหนด (พ.ร.ก.) เปนกฎหมายที่ฝายบริหาร คณะรัฐมนตรี ตราขึ้นโดยอาศัย
อํานาจตามรัฐธรรมนูญ โดยมีฐานะทางกฎหมาย หรือลําดับศักดิ์เทียบเทากับพระราชบัญญัติ ดังนั้น
พระราชกําหนดจึงมีผลเปนการแกไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกพระราชบัญญัติได ทั้งนี้ เนื่องจากพระราช
กําหนดมิใชกฎหมายโดยแทจึงมีขอกําจัดในการตรา กลาวคือ ฝายบริหารจะตราพระราชกําหนดได
เฉพาะในกรณีพิเศษตามที่รัฐธรรมนูญกําหนดเงื่อนไขไวเทานั้น ดังนี้
- เพื่อประโยชนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ
- เพื่อประโยชนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ
- เพื่อประโยชนในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ
- เพื่อประโยชนในอันที่จะปกปองภัยพิบัติสาธารณะ
นอกจากเงื่อนไขอยางใดอยางหนึ่งใน ๔ ประการที่กลาวมา การที่ฝายบริหารจะตรา
พระราชกําหนดไดตองเปนกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นวา “ฉุกเฉินที่มีความจําเปนเรงดวนอันมิอาจจะ
หลีกเลี่ยงได” มิฉะนั้นพระราชกําหนดนี้จะขัดตอรัฐธรรมนูญและไมมีผลทางกฎหมาย
¡®ËÁÒÂลํา´ÑºÃͧ
การตรากฎหมายลําดับรองเปนการรับรองอํานาจของฝายบริหารตามหลักของ
รัฐธรรมนูญ เนื่องจากการตราพระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนดนั้น ถือเปนการวางหลักกฎหมาย
ในภาพรวม หรือเปนการกําหนดแนวทางกวาง ๆ เทานั้น เพราะขอจํากัดที่ฝายนิติบัญญัติไมอาจ
ทราบถึงสภาพตามความเปนจริงและปญหาในการบังคับกฎหมายได ประกอบกับเมื่อเวลาเปลี่ยนไป
ขอเท็จจริงในเรื่องตาง ๆ ที่กฎหมายจะใชบังคับก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได ดังนั้น จึงเปนขอจํากัด
ที่ฝายนิติบัญญัติไมสามารถกําหนดรายละเอียดในกฎหมายไดจึงมีความจําเปนตองมอบอํานาจ
แกฝายบริหารใหสามารถตรากฎหมายบริหารบัญญัติ เชน พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง หรือ
ประกาศกระทรวง ซึ่งเปนกฎหมายลําดับรองที่บัญญัติใหสอดรับกับกฎหมายแมบท กฎหมายลําดับรอง
จึงขัดหรือแยงกับกฎหมายแมบทที่ใหอํานาจไมได
ñ.ó ¡®ËÁÒÂͧ¤¡ÃºÑÞÞÑμÔ
ในปจจุบันการบริหารราชการแผนดินไดมุงเนนการกระจายอํานาจใหองคกร
ปกครองสวนทองถิ่น เพื่อเปดโอกาสใหประชาชนในแตละพื้นที่ไดมีสวนรวมในการปกครอง และแกไข
ปญหาในพื้นที่ของตนดวยตนเอง กลาวคือ มีอิสระจากการ “บังคับบัญชา” ของการบริหารราชการ
สวนกลางและสวนภูมิภาค แตอยูภายใต “การกํากับดูแล” เทานั้น