Page 94 - 07_ความรเบยงตนเกยวกบกฎหมาย_Neat
P. 94

๘๕




                                 สาม อํานาจหนาที่อื่นเกี่ยวกับการคุมประพฤติตามที่ศาลเห็นสมควร เชน ศาล
                 อาจสั่งใหพนักงานคุมประพฤติดําเนินการสืบเสาะและพินิจจําเลยเพิ่มเติม ทํารายงานคุมความประพฤติ

                 เสนอตอศาลเพิ่มเติมได หรือใหตามตัวผูถูกคุมความประพฤติไปศาล เปนตน
                              ¡ÒÃÊ׺àÊÒÐáÅоԹԨ นั้น หมายถึง กระบวนการแสวงหาขอเท็จจริงเกี่ยวกับ

                 ประวัติและภูมิหลังทางสังคมของจําเลยตลอดจนพฤติการณในคดีกอนการพิจารณาพิพากษาคดี
                 โดยพนักงานคุมประพฤติเปนผูดําเนินการตามคําสั่งศาล แลวนําขอเท็จจริงที่ไดมาประมวลวิเคราะห

                 และทํารายงานเสนอตอศาลพรอมทําความเห็นและขอเสนอแนะวา วิธีการใดจึงจะเหมาะสมกับ
                 จําเลยรายนั้น  เพื่อศาลจะไดใชประกอบดุลพินิจในการพิพากษาซึ่งจะเปนการพิจารณาเปนรายบุคคลไป

                                 ในสวนของ ¡ÒäǺ¤ØÁáÅÐÊʹʋͧ นั้น เปนกระบวนการภายหลังจากศาลใชดุลพินิจ
                 ในการพิพากษาผูกระทําผิดแลววา บุคคลนั้นยังไมสมควรไดรับโทษจําคุก จึงใหรอการกําหนดโทษ

                 หรือรอการลงโทษไวกอน โดยมีการกําหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติ และใหพนักงานคุมประพฤติ
                 เปนผูควบคุมดูแลแนะนําชวยเหลือหรือตักเตือนในเรื่องความประพฤติ การศึกษา การประกอบอาชีพ

                 หรือเรื่องอื่นๆ ดวยวิธีการแกไขฟนฟูเปนรายบุคคลตามความเหมาะสม เชน การใหคําปรึกษา แนะนํา

                 ตามหลักจิตวิทยา การบําบัดรักษาทางการแพทย การใหการศึกษา การฝกอาชีพ การอบรมศีลธรรม
                 ตลอดจนการใหการสงเคราะหดานตางๆ
                                 สําหรับ ¡Ô¨¡ÃÃÁªØÁª¹ นั้น หมายถึง ขั้นตอนและกระบวนการทางเทคนิคที่พนักงาน

                 คุมประพฤตินํามาใชดําเนินการแกไขฟนฟูผูกระทําผิด โดยเฉพาะกับผูถูกคุมความประพฤติในชวงระยะ

                 เวลาที่อยูระหวางการคุมความประพฤติโดยใชเทคนิคทางจิตวิทยา การศึกษา จริยศาสตร สังคมสงเคราะห
                 กฎหมาย และวิธีการอื่นๆ เขามาดําเนินการแกไขฟนฟูพฤติกรรมและจิตใจ ตลอดจนการใหการสงเคราะห

                 ชวยเหลือตามความเหมาะสมเปนรายบุคคลเปนระยะๆ โดยใชทรัพยากรชุมชน อันไดแก สถาบันตางๆ
                 และองคการสาธารณกุศล ใหเขามามีสวนรวมในการรับรู เขาใจ สงเสริม สนับสนุน และชวยเหลือ

                 เพื่อเชื่อมโยงผูถูกคุมความประพฤติใหกลับคืนสูชุมชนไดอยางแนบเนียนยิ่งขึ้น
                                 เหตุผลที่กรมคุมประพฤติไดนําการมีสวนรวมของประชาชนมาใชในการดําเนินการ

                 แกไขฟนฟูผูกระทําผิดนั้น เพราะการปองกันและปราบปรามอาชญากรรมไมสามารถกระทําได
                 โดยเจาหนาที่ของรัฐแตเพียงฝายเดียว และหากคํานึงถึงสังคมโดยสวนรวมแลว อาชญากรรมเปน

                 สิ่งที่มีผลกระทบตอสังคมโดยสวนรวม ดังนั้น จึงควรเปนภาระหนาที่ของประชาชนในสังคมที่ควร
                 จะชวยกันปองกันแกไขปญหาอาชญากรรมดวย ทุกวันนี้ประเทศตางๆ จึงไดพยายามใหประชาชน

                 มีสวนรวมในการแกไขและปองกันอาชญากรรมซึ่งทําใหเกิดผลดีโดยทั่วไป สําหรับโครงการที่เกี่ยวของ
                 กับการแกไขฟนฟูผูกระทําผิด และประชาชนไดเขามามีสวนรวม ไดแก (๑) การพัฒนาฟนฟูผูกระทําผิด

                 (๒) การบริการสังคม (๓) การสงเคราะหผูกระทําผิดที่เปนผูใหญ และ (๔) โครงการอาสาสมัครคุมประพฤติ
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99