Page 11 - 09_กฎหมายอนทเกยวของกบการปฏบตหนาท_Neat
P. 11

๔




                          สิทธิธรรมชาติซึ่งรากฐานมาจากแนวคิดกฎหมายธรรมชาติมีเปาหมายที่แทจริง
              เพื่อจํากัดอํานาจรัฐซึ่งใชอํานาจปกครองผูอยูใตอํานาจปกครองอยางไมมีขอบเขตหรือตามอําเภอใจ

              แตอยางไรก็ตามรัฐในฐานะผูใชอํานาจปกครองก็มีแนวโนมที่จะใชอํานาจอยางเต็มที่เสมอ ดังนั้น
              จึงมีความจําเปนที่จะตองจํากัดอํานาจรัฐใหลดนอยลงที่สุดเทาที่จะทําได ดวยเหตุนี้เองนักปรัชญา

              ทางการเมืองจึงนําเอาแนวคิดตั้งแตสมัยกรีก-โรมันที่วาดวย “สิทธิตามธรรมชาติ” กับ “กฎหมาย
              ธรรมชาติ” นํามาจัดระบบความคิดอยางเปนตรรกะใหเขากับสถานการณทางการเมือง การปกครอง

              ในการอางความชอบธรรมตามธรรมชาติซึ่งคนทุกคนพึงไดรับประโยชนที่ติดตัวมาตั้งแตกําเนิด
              เพื่อจํากัดอํานาจรัฐ ประโยชนที่คนทุกคนพึงไดรับดังกลาวนั้นเองเปนหลักประกันขั้นพื้นฐานเพื่อคุมครอง

              และรับรองความตองการขั้นพื้นฐานในฐานะที่เปนคนที่มีศักดิ์ศรีในสังคม ฉะนั้นการตรากฎหมายของรัฐ
              ที่ปราศจากความยุติธรรม สิ่งที่จะมีอํานาจเหนือกวากฎหมายบานเมืองซึ่งบัญญัติเปนลายลักษณ

              อักษรจากผูมีอํานาจนั้น คือ “ธรรมชาติ” เชนนี้กฎหมายธรรมชาติจึงอยูเหนือกฎหมายบานเมือง
              ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไดเมื่อมีการเปลี่ยนผูถืออํานาจ แตกตางจากกฎหมายธรรมชาติที่เปนกฎเกณฑ
              ที่เปนสากลและไมเปลี่ยนแปลงดวยเวลาและสถานที่

                          นับตั้งแตคริสตศตวรรษที่ ๑๗ จอหน ล็อค (John Locke) ไดประกาศถึงการมีอยูของ
              สิทธิธรรมชาติในชีวิต เสรีภาพและในการแสวงหาความสุขของมนุษย “สิทธิธรรมชาติ” ก็พัฒนาเปน

              สิทธิมนุษยชน กลาวคือ สิทธิทั้งหลายแหงมนุษยชาติเกิดมีขึ้นตามกฎหมายธรรมชาติ สวนกฎหมายที่
              ตราขึ้นในภายหลังนั้น เปนเพียงการยอมรับหรือรับรองสิทธิที่ไดมีอยูแลววา มีอยูจริง และรัฐบังคับ

              คุมครองใหเทานั้น ไมไดเปนผูกอตั้ง หรือประกาศสิทธิใหมนุษยแตอยางใด เชน สิทธิในชีวิต เสรีภาพ
              ในรางกาย สิทธิในทรัพยสิน และความเสมอภาคซึ่งเปนสิทธิที่ไมสามารถโอนใหแกกันได และใครผูใด

              จะลวงละเมิดมิได ซึ่งตอมามีการขยายความหมายครอบคลุมไปถึง สิทธิที่จะไดรับการคุมครองปองกัน
              ไมใหถูกจับกุมคุมขังโดยอําเภอใจ สิทธิที่จะไมถูกลวงละเมิดในเคหสถาน สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการ

              เคลื่อนยายถิ่นที่อยู สิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร สิทธิเสรีภาพในความคิดเห็น และสิทธิเสรีภาพในการ
              นับถือศาสนา สิทธิเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ

                          ตอมาแนวความคิดในเรื่องสิทธิตามธรรมชาติดังกลาว ไดมีการอธิบายขยายความ
              จนกลายเปนสิทธิในการจํากัดอํานาจรัฐ โดยใหเหตุผลวาประชาชนมีอาณาเขตหนึ่งที่หามมิใหผูใชอํานาจ

              ปกครองรัฐลวงลํ้าเขาไปใชอํานาจรัฐได เมื่อผูใชอํานาจปกครองรัฐมีพันธกรณีที่จะตองงดเวนไมใช
              อํานาจรัฐ จึงเทากับประชาชนของรัฐมีสิทธิในการจํากัดอํานาจรัฐนั่นเอง และนอกจากจะเปนการจํากัด

              อํานาจรัฐไมใหลวงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนแลว สิทธิเสรีภาพของแตละบุคคล ก็จะตองไมถูก
              ลวงละเมิดจากการใชสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นดวย นั่นก็หมายความวาการใชสิทธิเสรีภาพของแตละ
              บุคคลจะตองใชภายในปริมณฑลเขตแดนของสิทธิเสรีภาพแหงตน และตองไมลวงเขาไปในเขตแดนของ

              สิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16