Page 88 - โครงการ เรื่อง การบัญชีการเงิน
P. 88

77







                          3.  การเบิกชดเชยเงินสดย่อย เมื่อครบระยะเวลาที่กิจการกำหนด เช่น 1 สปดาห์ 2
                                                                                               ั
                              สัปดาห์หรือ 1 เดือน พนักงานรักษาเงินสดย่อยจะรวบรวมใบสำคัญจ่ายเงินสด

                              ย่อย หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาขอเบิกชดเชยเงินสดย่อยที่จ่ายค่าใช้จ่ายไป เมื่อผู้ที่

                              รับมอบหมายตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานต่างๆ แล้ว ผู้มีอำนาจจะ
                              สั่งจ่ายเช็คเท่ากับจำนวนที่ขอเบิกชุดเชยตามรายงานจ่ายค่าใช้จ่ายที่พนักงานรกษา
                                                                                                     ั
                              เงินสดย่อยจัดทำเสนอขึ้นมา


                       เงินขาดและเงินเกิน


                              ในกิจการที่ขายสินค้าเป็นเงินสดรายย่อยมีจำนวนมากรายต่อวัน เช่น ร้าน

                       สรรพสินค้า (Convenience Store) จำนวนเงินสดที่ได้รับจากการขายในแต่ละวันกับ

                       รายงานการรับเงินสดประจำวันอาจจะไม่ตรงกัน ผลต่างที่เกิดขึ้น คือ เงินขาดหรือเงินเกิน

                         ื่
                       เพอประโยชน์ในการควบคุมทางการบัญชีควรบันทึกเงินขาดหรือเงินเกินไว้ในบัญชีเงินขาด
                       และเกินบัญชีรายได้เบ็ดเตล็ดหรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดแล้วแต่กรณี กล่าวคือ ถ้าบัญชีเงิน

                       ขาดและเกินมียอดคงเหลือในบัญชีอยู่ด้านเดบิต ให้โอนปิดเข้าบัญชีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

                       และถ้าบัญชีเงินขาดและเกินมียอดคงเหลือในบัญชีอยู่ด้านเครดิตให้โอนปิดเข้าบัญชีรายได้

                       เบ็ดเตล็ด


                       การพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร (Bank Reconciliation)


                              ถึงแม้ว่าเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน (Current Account) ธนาคารจะ

                       ไม่มีการคิดดอกเบี้ยเงินฝากให้ แต่ก็เป็นระบบเงินฝากที่วงการธุรกิจนิยมใช้บรการจาก
                                                                                              ิ
                       ธนาคารเนื่องจากมีความสะดวกในการนำฝากและการเบิกถอนหรือการสั่งจ่าย เงินฝาก

                       ธนาคารประเภทกระแสรายวันนี้จะไม่มีสมุดคู่ฝาก (Pass Book) และมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง

                       ประกอบด้วยใบนำเงินฝาก (Pay-in Slip หรือ Deposit Slip) เช็ค (Cheque หรือ

                                               ิ
                       Check) และใบแจ้งยอดเงนฝากธนาคาร (Bank Statement)ดังได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ
                       เงินฝากธนาคาร ดังนั้น เมื่อกิจการได้รับใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคารตามระยะเวลาที่
                       กำหนดแล้ว กิจการควรตรวจสอบรายละเอียดกับสำเนาใบนำเงินฝาก ต้นขั้วเช็คและสมุด

                       บันทึกเงินฝากธนาคารเงินฝากธนาคาร และยอดเงินฝากธนาคารคงเหลือตามสมุดบัญชีจะ

                       ไม่เท่ากัน จึงจำเป็นที่กิจการจะต้องตรวจสอบหาสาเหตุดังกล่าว เพื่อแก้ไขและปรับปรุง
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93