Page 26 - สังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย
P. 26

๑๗



                             Êѧ¤Áä·ÂÊÁÑÂãËÁ‹
                             ความเจริญทางดานการคา  การเห็นคุณคาของการศึกษาหาความรู และความสนใจรับ

                 วิทยาการจากตะวันตกของชนชั้นนําและสามัญชนในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ ๆ ที่เปนศูนยกลาง
                 การคา มีอิทธิพลตอการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ไดมีการพัฒนาดานสังคมและประเพณี เพื่อความทันสมัย
                 การปฏิรูปการบริหารราชการแผนดิน และปฏิรูปสังคมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา

                 เจาอยูหัว ดวยการเลิกระบบไพรและการยกเลิกระบบทาส การเลิกระบบไพร ไพรมีความสําคัญ
                 ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครองของไทยดังที่ไดกลาวมาแลวขางตน พระบาทสมเด็จ
                 พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงดําเนินการอยางคอยเปนคอยไป ดวยการดึงการควบคุมกําลังจากขุนนาง

                 เจานายมาสูพระมหากษัตริยโดยใหมีการจัดทําสํามะโนครัวแทนการสักขอมือ พระราชบัญญัติเปลี่ยน
                 วิธีเก็บเงินคาราชการ ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๑) ซึ่งลดเงินคาราชการที่เก็บจากไพรจากปละ ๑๘ บาท
                 ใหเปนปละ ๖ บาท และเปลี่ยนการควบคุมไพรจากมูลนายมาใหทองที่ที่ไพรอาศัยอยูเปนผูดูแลแทน

                 พระราชบัญญัติเกณฑจาง ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๔) เปนการทําลายลักษณะของระบบไพร คือ ใหเลิก
                 การเกณฑแรงงาน ไพรเปนอิสระในการประกอบอาชีพ และเลือกที่อยูอาศัยซึ่งนับวาเปนการคลี่คลายวิธี
                 การเกณฑแรงงานตามระบบไพร และสอดคลองกับระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราซึ่งกําลังขยายเขามาใน

                 ประเทศไทย และพระราชบัญญัติเก็บคาราชการ ร.ศ.๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๕) กําหนดใหชายฉกรรจทุกคน
                 ตองเสียเงินคาราชการคนละ ๖ บาท เปนอยางสูงทั่วราชอาณาจักร นับวาเปนการทําลายระบบมูลนาย

                             ใน พ.ศ. ๒๔๔๘ ไดมีการประกาศใชพระราชบัญญัติเกณฑทหาร ร.ศ.๑๒๔ โดยกําหนด
                 ใหชายฉกรรจที่ไดรับเลือกและมีอายุ ๑๘-๒๐ ป เปนทหารประจําการอยู ๒ ป แลวปลดเปนกองหนุน
                 มีภาระหนาที่ฝกซอมทุกปเปนเวลา ๑๕ ป แลวปลดพนจากการเสียเงินคาราชการตลอดชีวิต สวนผูที่
                 ไมไดรับการคัดเลือกตองเสียเงินคาราชการตามอัตราที่กําหนดของทองถิ่นตน พระราชบัญญัติฉบับนี้

                 ไดทยอยประกาศใชที่มณฑลจนครบทั่วราชอาณาจักรในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว
                 ซึ่งเปนการยุติพันธะสังคมตามระบบไพรในสังคมไทยโดยปริยาย และเปนการนําประเทศไทยเขาสู

                 สมัยใหม สามัญชนซึ่งเคยอยูในฐานะไพรและทาสหันไปประกอบอาชีพชาวนา ชาวไร กรรมการ ชางฝมือ
                 ลูกจาง เสมียน เปนตน
                             การเลิกระบบทาสไดรับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเรื่องสิทธิเสรีภาพของมนุษย พระบาท
                 สมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงทําเปนขั้นตอนอยางละมุนละมอม ตั้งแตทรงออกพระราชบัญญัติ

                 พิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท พ.ศ. ๒๔๑๗ กําหนดใหลูกทาสที่เกิดใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ซึ่งเปนปที่พระองค
                 ขึ้นครองราชย เกษียณอายุเปนไท เมื่ออายุ ๒๑ ป หามขายตัวเปนทาสอีก ทรงปลูกฝงคานิยมในการ

                 บริจาคเงินไถทาสใหเปนอิสระ ขยายการศึกษาและอาชีพโดยตั้งโรงเรียนใหลูกทาสที่ยังไมบรรลุนิติภาวะ
                 สมัครใจเขาเรียน และจะปลอยใหเปนไท ประกาศพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลพายัพ พ.ศ. ๒๔๔๓
                 พระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลบูรพา พ.ศ. ๒๔๔๗ และในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๘ ไดประกาศ
                 พระราชบัญญัติเลิกทาสทั่วราชอาณาจักร พวกที่ซื้อขายทาสจะถูกลงโทษตามประมวลกฎหมายลักษณะ

                 อาญา พ.ศ. ๒๔๕๑ การเลิกทาสและไพร อาจกลาวไดวาเปนการปลดปลอยใหพนจากพันธะทางสังคม
                 ในรูปแบบศักดินา เพื่อเปนการพัฒนารองรับการปรับปรุงบานเมืองใหทันสมัยแบบตะวันตก
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31