Page 24 - สังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย
P. 24

๑๕




                 การเลื่อนชั้นทางสังคมจึงเลื่อนจากสามัญชน ในสกุลขุนนางซึ่งสนับสนุนพระองคในการปราบดาภิเษก
                 และสถาปนาราชวงศใหมขึ้นเปนชนชั้นเจา การแตงตั้งเจาใหทรงกรมขึ้นอยูกับความเปนเครือญาติ

                 ใกลชิดกับพระมหากษัตริย และมีความสามารถชวยเหลือในการบริหารบานเมือง อํานาจของเจานายแตละ
                 พระองคไมเทาเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยูกับตําแหนงทางราชการกําลังไพรในสังกัด และตามพระราชอัธยาศัย

                 ของพระมหากษัตริย อนึ่งสมัยกรุงรัตนโกสินทรตอนตนมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับขอบเขตอํานาจ
                 เจานายในเรื่องไพรสมในสังกัด ซึ่งเปนปญหาในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเจาทรงมีอํานาจและเปน

                 ผูคุกคามที่สําคัญของพระมหากษัตริย กลาวคือมีการสงขาราชการชั้นสูงจากเมืองหลวงไปทําการสัก
                 ไพรทั่วราชอาณาจักรทุกตนรัชกาลใหม โดยสักชื่อมูลนายและชื่อเมืองที่สังกัดที่ขอมือไพรเปนมาตรการ

                 จํากัดกําลังเจานายอีกประการหนึ่ง คือ ไพรสมจะโอนเปนไพรหลวงเมื่อเจานายหรือขุนนางผูใหญ
                 ถึงแกอนิจกรรม เจานายมีสิทธิพิเศษตามกฎหมาย คือ จะพิจารณาคดีเจานายในศาลกรมวังเทานั้น

                 และจะนําเจานายไปขายเปนทาสมิได
                             พระมหาอุปราชเปนเจาวังหนาตําแหนงกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และมักจะสถาปนา

                 พระอนุชาใหดํารงตําแหนง นอกจากนั้นยังมีอัครเสนาบดี และเสนาบดีจตุสดมภ คือ กรมเวียง กรมวัง

                 กรมคลัง กรมนา ตําแหนงเหลานี้ถาเกิดเหตุสงครามก็ตองไปเปนแมทัพ
                             ไพรในสมัยกรุงรัตนโกสินทรตอนตน ไดรับการผอนปรนเรื่องการเกณฑแรงงานจากปละ
                 ๖ เดือน (เขาเดือนออกเดือน) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เหลือปละ ๔ เดือน (เขาเดือนออก ๒ เดือน)

                 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช (กฎหมายตราสามดวง. ๒๕๐๖ : ๒๐๕-๒๐๗)

                 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย ลดเหลือปละ ๓ เดือน (เขาเดือนออก ๓ เดือน) อัตรา
                 การเกณฑแรงงาน ปละ ๓ เดือนนี้ใชไปจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวกอนการ

                 ประกาศใชพระราชบัญญัติการเกณฑทหาร อยางไรก็ดีระบบไพรทําใหขัดขวางความชํานาญในการทํา
                 อาชีพของคนไทย จึงทําใหชาวตางชาติโดยเฉพาะชาวจีนเขาควบคุมกิจการดานเศรษฐกิจเกือบทั้งหมด

                             ทาสในสมัยกรุงรัตนโกสินทรตอนตน ยังคงมีสภาพเชนเดียวกับทาสสมัยกรุงศรีอยุธยา
                 ทาสในสมัยกรุงรัตนโกสินทรตอนตน มักจะเปนทาสสินไถ ซึ่งสามารถไถตัวใหพนจากการเปนทาสได

                 ทาสเชลยไมมีคาตัวตองเปนเชลยไปตลอดชีวิตจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๓๔๘ จึงมีกฎหมายระบุใหทาสเชลย
                 มีคาตัว และไถตัวเองได สวนทาสในเรือนเบี้ยหรือลูกทาสตองเปนทาสตลอดชีวิต ไมมีสิทธิไถตัว

                 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงออกพระราชบัญญัติ เกษียณอายุลูกทาสลูกไท
                 พ.ศ. ๒๔๑๗ ประกาศใหลูกทาสที่เกิดตั้งแตปที่พระองคขึ้นครองราชย (พ.ศ. ๒๔๑๑) เปนอิสระ

                 เมื่อมีอายุบรรลุนิติภาวะ และขายตัวเปนทาสอีกไมได
                             ชาวตางชาติ ชาวจีนเปนผูมีบทบาทและความสําคัญตอสังคมไทยดานเศรษฐกิจมาตั้งแต

                 สมัยอาณาจักรอยุธยา ชาวจีนอพยพเขามาอยูในดินแดนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสมัยกรุง
                 รัตนโกสินทรตอนตน ซึ่งอาจแบงออกเปน ๒ ประเภท คือ ประเภทแรก เปนพวกที่มีความสัมพันธ

                 ใกลชิดกับชนชั้นสูงในสังคมไทย และมีการอุปถัมภซึ่งกันและกัน เพื่อเปนหนทางในการเลื่อนฐานะ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29