Page 72 - สังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย
P. 72

๖๓




                 กลุมผูกอการราย (militant group) เพื่อแยกดินแดนเพื่อตั้งประเทศใหม เมื่อพิจารณาในรายละเอียด
                 ของสังคมไทย เราจะพบวาประเด็นเรื่องของชนกลุมนอยที่ผานมานั้นถูกพิจารณาวาเกี่ยวของกับ

                 “ความมั่นคงของชาติ”
                             เลขาธิการสภาความมั่นคงในป ๒๕๒๙ ใหความเห็นวาสังคมไทยมีความผสมกลมกลืน

                 เปนอยางสูง เปนคนไทยดวยกันหมด นับจากชาติพันธุตางๆ ที่เคยอพยพเขามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
                 ปญหาชนกลุมนอยเพิ่งจะมาเปนปญหาจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มตนดวยการอพยพเขามา

                 ของชาวเวียดนาม หรือญวนอพยพ และปจจัยสําคัญที่ทําใหปญหาชนกลุมนอยทวีความรุนแรง
                 มากขึ้นก็คือความไมสงบที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบาน ทําใหเกิดชนกลุมนอยที่เปนผูอพยพลี้ภัยตางๆ

                 ขึ้นหลายกลุม อาทิ จีนฮอ ผูพลัดถิ่นสัญชาติพมา ขณะที่ผูลี้ภัยชาวอินโดจีนจากการเปลี่ยนแปลงไปสู
                 คอมมิวนิสตในอินโดจีนเมื่อป ๒๕๑๘ และผูลี้ภัยจากกัมพูชาเมื่อป ๒๕๒๒ สภาความมั่นคงถือวา

                 เปนเพียงผูที่พักพิงอยูในประเทศไทยชั่วคราวเพื่อรอสงตัวกลับภูมิลําเนา หรือสงไปประเทศที่สาม
                 ไมใชชนกลุมนอย (ซึ่งทางราชการมีนโยบายปฏิบัติตอกลุมชนเหลานี้ตางไปจากชนกลุมนอย)

                 และขณะเดียวกันชนกลุมนอยยังหมายถึงชาวเขาทางภาคเหนือ และชาวไทยมุสลิมทางภาคใตดวย

                 อันเนื่องมาจากมีความเปนมาทางชาติพันธุแตกตางไปจากชาวไทยสวนใหญ ในมุมมองของสภา
                 ความมั่นคง พบวาชนกลุมนอยในประเทศไทยนั้นแบงออกเปน ๑) ชาวจีน ๒) ญวนอพยพ
                 ๓) ชาวเขา ๔) จีนฮอ ๕) ผูพลัดถิ่นสัญชาติพมา ๖) ชาวไทยมุสลิม

                             ปญหาที่เกิดจากชนกลุมนอย ในมุมมองของเลขาธิการสภาความมั่นคงแหงชาติ

                 พบวาปญหาชนกลุมนอยนั้นมีผลตอการสรางประชาคมการเมืองที่มีความเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน
                 (nation-building) ซึ่งเปนพื้นฐานตอการพัฒนาประเทศไปสูความเจริญในดานตางๆ

                             ปญหาชนกลุมนอยในแงความมั่นคงของชาติสามารถสรุปไดดังนี้
                             ๑.  การเพิ่มประชากรในหมูชนกลุมนอย โดยเฉพาะชาวเขาและไทยมุสลิม เนื่องมาจาก

                 คตินิยม ความเชื่อทางศาสนา ความตองการแรงงานในการผลิต การขยายกําลังรบเพื่อสงครามกูชาติ
                             ๒.  การแทรกซึมบอนทําลายความมั่นคงแหงชาติ โดยเฉพาะชาวญวนอพยพ

                             ๓.  การเขามามีอิทธิพลทางดานเศรษฐกิจ การคา คือ ชาวจีนและชาวญวนอพยพ
                             ๔.  ความผูกพันกับชาติพันธุเดิม โดยเฉพาะกลุมที่เพิ่งเขามาตั้งรกราก ทั้งจากชาวญวน

                 อพยพและไทยมุสลิม
                             ๕.  การบุกรุกทําลายปาและปลูกฝน โดยเฉพาะกรณีชาวเขา ซึ่งทําไรเลื่อนลอยทําให

                 ปาไมและแหลงตนนํ้าลําธารถูกทําลายลงอยางรวดเร็ว นอกจากนี้ยาเสพติดยังบอนทําลายประเทศ
                 ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหวางประเทศ (เปรียบเทียบกับประเด็นปจจุบัน)

                             ๖.  ปญหาดานยาเสพติด ไดแก กลุมจีนฮอ และผูพลัดถิ่นสัญชาติพมากลุมตางๆ
                 เพื่อแสวงหารายไดเพื่อเลี้ยงดูกองกําลังและจัดซื้ออาวุธ
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77