Page 113 - การให้รหัสโรค
P. 113

102




                          -  T07 Unspecified multiple injuries
                          -  T08 Fracture of spine, level unspecified

                          -  T10 Fracture of upper limb, level unspecified


                      หลักการสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการให้รหัสกำกวม ได้แก  ่
                             1. แพทย์ไม่ควรใช้คำกำกวมวินิจฉัยโรค คำกำกวมคือคำที่ใช้เรียกชื่อโรคแบบ
                      “ครอบจักรวาล” ซึ่งครอบคลุมโรคจำนวนมาก
                             2. เมื่อผู้ให้รหัสพบคำวินิจฉัยกำกวม ให้ส่งใบสรุปจำหน่ายกลับไปให้แพทย์บันทึกโรคใหม่ให้

                      ชัดเจน
                             บางครั้งแพทย์อาจบันทึกคำวินิจฉัยกำกวมโดยไม่ตั้งใจ ผู้ให้รหัสควรให้ข้อมูลแก่แพทย์ว่าคำ
                      วินิจฉัยอาจทำให้เกิดรหัสกำกวม ทำให้คุณภาพข้อมูลต่ำกว่ามาตรฐาน

                      ตัวอย่าง คำวินิจฉัยกำกวมที่พบบ่อย
                          -  Head injury, Multiple injury
                          -  Knee injury, Ankle injury
                          -  Soft tissue injury

                          -  blunt trauma of abdomen
                          -  Diabetes foot
                          -  URI, UTI, CVA
                          -  MCA, Car accident

                          -  Snake bite, Dog bite
                          -  Gunshot wound

                      คำที่แพทย์นิยมบันทึกเป็นการวินิจฉัยมีลักษณะความจำเพาะ


                             คำที่แพทย์นิยมบันทึกเป็นการวินิจฉัยมีลักษณะความจำเพาะ (Most Specific Diagnostic
                      Term) อยู่ 4 ลักษณะ เรียงความจำเพาะจากสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้

                             1. การวินิจฉัยขั้นสุดท้ายเมื่อสิ้นสุดการรักษา (final diagnosis)
                             2. การวินิจฉัยขั้นต้นเมื่อเริ่มการรักษา (provisional diagnosis)
                             3. ภาวะโรคหรือกลุ่มอาการ (condition or syndrome)
                             4. อาการและอาการแสดง (symptom and sign)
                             ผู้ให้รหัสต้องเลือกการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายเมื่อสิ้นสุดการรักษา (final diagnosis) มาใช้ในการ

                      ให้รหัสเสมอ และเมื่อได้รหัสการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายของโรคแล้ว ผู้ให้รหัสไม่ต้องนำอาการ อาการแสดง
                      ภาวะ หรือการวินิจฉัยขั้นต้นเมื่อเริ่มรักษาของโรคนั้นมาให้รหัสอีกครั้ง










                         HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118