Page 111 - การให้รหัสโรค
P. 111
100
รหัสรวม
รหัสรวม (Combined Codes) หมายถึง รหัสเพียงรหัสเดียวแต่ครอบคลุมโรคมากกว่า 1 โรค
ี
รหัสรวมแต่ละรหัสได้ระบุลักษณะโรคหลายโรคไว้ด้วยกันชัดเจน หากสามารถใช้รหัสรวมเพยงรหัส
เดียวครอบคลุมโรคมากกว่า 1 โรคที่พบได้ ให้ใช้รหัสรวมเสมอ
หลักการให้รหัสรวม ได้แก่
1. เป็นรหัสที่ใช้เพียงรหัสเดียวก็สามารถครอบคลุมโรคของผู้ป่วยมากกว่า 1 โรค
2. สามารถถอดรหัสจะได้ชื่อโรคเดิมกลับมาครบทุกโรค
3. รหัสรวมมิใช่รหัสโรคหลายตำแหน่ง หรือรหัสกำกวม
ตัวอย่าง รหัสรวมบางรายการที่พบใน ICD-10
- I05.2 Mitral stenosis with insufficiency
- I07.2 Tricuspid stenosis with insufficiency
- I35.2 Aortic (Valve) stenosis with insufficiency
- I37.2 Pulmonary valve stenosis with insufficiency
- J85.1 Abscess of lung with pneumonia
- K80.0 Calculus of gallbladder with acute cholecystitis
- K80.3 Calculus of bile duct with cholangitis
- N20.2 Calculus of kidney with calculus of ureter
- N70.0 Acute salpingitis with oophoritis
- Q37.9 Cleft lip with clef palate
รหัสโรคหลายตำแหน่งหรือหลายแบบ
รหัสโรคหลายตำแหน่งหรือหลายแบบ (Multiple Diseases Coding) ขั้นตอนการให้รหัสโรค
หลายตำแหน่งหรือหลายแบบ ได้แก ่
1. กรณีโรคหลายตำแหน่งหรือหลายแบบมีความรุนแรงต่างกัน ไม่ต้องให้รหัสโรคหลาย
ตำแหน่งหรือหลายแบบ
2. กรณีโรคหลายตำแหน่งหรือหลายแบบมีความรุนแรงเท่ากัน ให้รหัสโรคหลาย
ตำแหน่งหรือหลายแบบเป็นรหัสการวินิจฉัยหลัก และให้รหัสละเอียดของโรคแต่ละตำแหน่งหรือแต่ละ
แบบเป็นรหัสการวินิจฉัยร่วม
3. กรณีไม่มีรายละเอียดใดเลย อาจต้องบันทึกรหัสกำกวม
ผู้ให้รหัสไม่ควรใช้ขั้นตอนสุดท้ายนี้โดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่สามารถค้นหา
ิ่
ข้อมูลเพมเติมได้ เช่น แพทย์สรุปการวินิจฉัยโรคว่า Multiple abrasion แต่ผู้ให้รหัสทบทวนพบ
บันทึกของพยาบาลห้องฉุกเฉินระบุตำแหน่งของบาดเจ็บแต่ละตำแหน่งชัดเจน ผู้ให้รหัสควรปรึกษา
แพทย์ขอให้ทบทวนการสรุปใหม่ให้ละเอียดก่อนให้รหัสของแต่ละบาดแผล
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ