Page 108 - การให้รหัสโรค
P. 108

97




                             การให้รหัสโรคแทรกให้ใช้รหัสของคำวินิจฉัยที่แพทย์บันทึกเป็นโรคแทรกในใบสรุปจำหน่ายที่
                                                      ั
                      ต้องมีคำวินิจฉัยอย่างเป็นลายลักษณ์อกษรของแพทย์ผู้ดูแลหรือร่วมรักษาเป็นหลักฐานรับรองการให้
                      รหัสบันทึกอยู่ในเวชระเบียนของการรับไว้ครั้งนั้นเสมอ ผู้ให้รหัสไม่สามารถนำผลการตรวจเลือด การ

                                                                        ิ
                      ตรวจปัสสาวะ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจพเศษอนที่ไม่ใช่คำวินิจฉัยโรคของแพทย์มา
                                                                            ื่
                      ตีความเป็นโรคแทรกโดยพลการ หากสงสัยว่าผู้ป่วยจะมีโรคแทรกที่แพทย์ไม่ได้สรุป ควรส่ง
                      เวชระเบียนให้แพทย์ทบทวนการสรุปเพิ่มเติมก่อนให้รหัส

                             คำวินิจฉัยอื่นๆ

                                        ื่
                             การวินิจฉัยอนๆ (Other Diagnoses) แบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีผู้ป่วยนอก (out-patients)
                      และกรณีผู้ป่วยนอก (out-patients)
                             การวนิจฉัยอนๆ ในกรณีผู้ป่วยนอก คือ โรคหรือภาวะของผู้ป่วยที่ไม่เข้าเกณฑ์คำจำกัด
                                  ิ
                                         ื่
                      ความของการวินิจฉัยหลัก เช่น โรคที่พบร่วมในคราวเดียวกันแต่แพทย์มิได้เลือกเป็นการวินิจฉัยหลัก
                      รวมทั้งโรคประจำตัวทั้งหมดของผู้ป่วยที่มิได้เป็นสาเหตุการมารับบริการในครั้งนี้ แต่ยังคงอยู่ในตัว
                      ผู้ป่วย ไม่รวมโรคที่รักษาหายแล้ว
                             การวนิจฉัยอนๆ ในกรณีผู้ป่วยใน คือ โรคหรือภาวะของผู้ป่วยที่ไม่เข้าเกณฑ์คำจำกัดความ
                                  ิ
                                         ื่
                      ของการวินิจฉัยหลัก การวินิจฉัยร่วม หรือโรคแทรก กล่าวคือเป็นโรคที่มีความรุนแรงไม่มากพอที่จะทำ
                                                                           ิ่
                      ให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงมากขึ้น ไม่ต้องใช้ทรัพยากรในการรักษาเพมขึ้นระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล
                      ครั้งนี้ อาจเป็นโรคที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ได้
                             องค์ประกอบสำคัญของคำจำกัดความของการวินิจฉัยอื่นๆ ในกรณีผู้ป่วยใน ได้แก  ่

                             1. เป็นโรคเล็กน้อย หรือมีความรุนแรงไม่มากพอที่จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
                                                                            ิ
                                                                  ิ่
                      แทรก เสี่ยงต่อการพิการหรือเสียชีวิต ไม่ทำให้ต้องเพมการตรวจพเศษ ไม่ต้องเพิ่มยาหรือเวชภัณฑ์ ไม่
                      ต้องทำการรักษาเพิ่มเติม
                             2. เป็นโรคที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้

                                                                                              ็
                             3. อาจเป็นโรคในระบบเดียวกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลักหรือไม่เกี่ยวเนื่องกันกได้
                                                             ื่
                             4. แพทย์สามารถบันทึกการวินิจฉัยอนๆ ได้มากกว่า 1 โรค โดยไม่จำกัดจำนวนสูงสุดที่จะ
                      บันทึกได้

                      ตัวอย่าง เช่น
                          -  Dental caries
                          -  Dermatophytosis
                          -  Acne
                          -  Varicose vein

                             ในกรณีมีรหัสเสริมเช่น B95-B98 ไม่บันทึกรหัสเสริมหรือรหัสที่มีเครื่องหมายดอกจันกำกับ
                      เป็นการวินิจฉัยอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยใน ให้บันทึกเป็นการวินิจฉัยร่วมหรือโรคแทรก
                             การวินิจฉัยโรคในกรณีผู้ป่วยนอก (Out-patients) จะประกอบด้วยการวินิจฉัยหลักและการ

                              ื่
                      วินิจฉัยอนๆ เท่านั้น ไม่มีการวินิจฉัยร่วมและโรคแทรก โดยการวินิจฉัยหลักคือโรคหลักที่มารับการ
                      ตรวจรักษาในครั้งนี้ และการวินิจฉัยอนๆ คือโรคอนๆ ของผู้ป่วยที่ต้องมารับบริการรักษาต่อเนื่อง แต่
                                                     ื่
                                                                ื่
                      จะมารับการตรวจรักษาในครั้งนี้หรือไม่ก็ได้




                         HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113