Page 103 - การให้รหัสโรค
P. 103
92
ตัวอย่าง ผู้ป่วยปวดท้องน้อยด้านขวา มาที่ห้องฉุกเฉิน แพทย์ไม่แน่ใจว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือไม่ รับไว้
ดูอาการในโรงพยาบาล 1 คืน อาการปวดลดลงเรื่อยๆ จนหายในวันรุ่งขึ้น ผู้ป่วยขอกลับบ้าน แพทย์
อนุญาตให้กลับโดยยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าอาการปวดท้องเกิดจากสาเหตุหรือโรคใด
ี่
การวินิจฉัยทถูก
การวินิจฉัยที่ผิด
DIAGNOSIS TYPE R/O Appendicitis Right lower abdominal pain
(1) PRINCIPAL DIAGNOSIS
DIAGNOSIS (2) COMOBIDITY (S) - -
-
-
(3) COMPLICATION (S)
(4) OTHER DIAGNOSIS - -
(5) EXTERNAL CAUSE OF INJURY - -
OPERATING ROOM PROCEDURES
OPERATION 1.
2.
3.
ในกรณีผู้ป่วยในสามารถค้นหาคำวินิจฉัยโรคหลักได้จากใบบันทึกสรุปการจำหน่าย หรือ
discharge summary) ในช่องการวินิจฉัยหลัก เพื่อให้รหัสโรคหลักโดยใช้ดรรชนีค้นหารหัส หรือ เล่ม
ที่ 2 บางครั้งแพทย์อาจจจะบันทึกคำวินิจฉัยโรคผิด เช่น บันทึกการวินิจฉัยหลักเกินหนึ่งโรค บันทึก
โรคร่วมในช่องการวินิจฉัยโรคหลัก บันทึกโรคแทรกในช่องการวินิจฉัยโรคหลัก หรือบันทึกสาเหตุ
ภายนอกการบาดเจ็บในช่องการวินิจฉัยหลัก ดังนั้นก่อนให้รหัสควรควรปรึกษาแพทย์ผู้บันทึกหรือ
ื่
แพทย์เจ้าของไข้ เพอให้บันทึกคำวินิจฉัยใหม่ให้ถูกต้องตรงตามความหมายของคำวินิจฉัยโรคหลัก
ี
รวมทั้งคำวินิจฉัยโรคหลักต้องละเอยดหรือบอกลักษณะต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น การตั้งครรภ์ การคลอด
และระยะหลังคลอด
บางครั้งรหัสที่ค้นหาได้อาจเป็นรหัสในระบบรหัสคู่ (dual classification หรือ dagger-
asterisk system) เช่น ถ้าการวินิจฉัยหลักคือ Cryptococcal meningitis จะพบว่าโรคนี้ใช้สองรหัส
ี
ได้แก่ B45.1† และ G02* จากคำนิยามของโรคหลักมีได้เพยงโรคเดียว ดังนั้นให้ใช้รหัสที่มี
เครื่องหมายกริซกำกับ (†) คือ B45.1† Cerebral cryptococcosis เป็นรหัสการวินิจฉัยหลัก และให้
รหัสที่มีเครื่องหมายกำกับ (*) คือ G02* Meningitis in mycoses เป็นรหัสการวินิจฉัยร่วม
นอกจากนี้การให้รหัสการวินิจฉัยจะมีวิธีการให้รหัสที่แตกต่างกันตามประเภทผู้ป่วย เช่น
ผู้ป่วยตั้งครรภ์ คลอดบุตร หลังคลอด ทารกแรกเกิด ผู้ป่วยเอดส์ หรือผู้ป่วยมะเร็ง ดังนั้นการให้รหัส
ควรปฏิบัติตามกฎต่างๆ ที่เขียนไว้ในแต่ละบท
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ