Page 12 - จราจร
P. 12

๕




                 คือ นายเลิศสมันเตา ซึ่งตอมาภายหลังไดรับพระราชทานนามสกุลวา เศรษฐบุตร ในรัชกาลที่ ๖
                 และมียศถาบรรดาศักดิ์เปนพระยาภักดีนรเศรษฐ เปนอันวาชาวสยามไดมีทั้งรถไฟ รถเมล รถราง รถยนต

                 รถมา รถลาก และรถจักรยานตั้งแตในรัชกาลที่ ๕ เปนตนมา ตอมารถยนตเริ่มเปนที่นิยมในหมูพระบรม
                 วงศานุวงศตลอดจนคหบดีจึงทรงพระดําริใหจัดงานชุมนุมขึ้นในวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๘ ซึ่งเปน

                 วันชุมนุมรถยนตครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร ปรากฏวามีรถยนตไปรวมชุมนุมในบริเวณพระบรมมหาราชวัง
                 เปนจํานวนถึง ๓๐ คัน ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเจาของรถทุกคัน เมื่อถึงเวลาประมาณบายสี่โมง

                 จึงไดเคลื่อนขบวนรถไปตามถนนสามเสน เมื่อรถยนตไดรับความนิยมมากขึ้นจึงมีการตัดถนนใหม
                 เพื่อรองรับผลที่ตามมา คือ มีคดีเกี่ยวกับรถเกิดขึ้นในศาล ทั้งชนกัน ขโมย และฉอโกงรถจึงมีการตรวจตรา

                 พระราชบัญญัติรถยนตฉบับแรกขึ้นในป พ.ศ.๒๔๕๒ มีผลบังคับในปตอมากําหนดใหเจาของรถ
                 ตองจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย โดยเสียคาธรรมเนียมคันละ ๑๐ บาท

                             สําหรับรถแท็กซี่ หรือรถเกงรับจาง พระยาเทพหัสดิน ณ อยุธยาไดใหลูกหลานเอารถออก
                 วิ่งรับจางคนเปนครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ สมัยนั้นเรียกวา “รถไมล”เพราะคิดราคาเปนไมล ตกไมลละ
                 ๑๕ สตางค ถาเชาเปนชั่วโมง คิดชั่วโมงละ ๑ บาท สวนคําวา “แท็กซี่”เพิ่งจะมาเรียกตามฝรั่งในภายหลัง

                 จํานวนรถยนตทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ มีอยูไมเกิน ๑,๐๐๐ คัน และมีถนนอยู
                 ไมกี่สายที่เดินรถไดสะดวก ถนนระหวางจังหวัดในขณะนั้นยังไมมีแมในจังหวัดธนบุรีที่ติดกับกรุงเทพฯ

                 ก็ยังไมมีทางรถและไมมีรถ แมกระนั้นการกีดขวางทางและอุบัติเหตุในการจราจรก็มีอยู กฎหมายไดให
                 อํานาจตํารวจในการปฏิบัติงานมีเพียงอํานาจตามพระราชบัญญัติรถยนต พ.ศ.๒๔๖๓ กับกฎกระทรวง

                 ที่ออกเนื่องจากพระราชบัญญัตินั้น ประกอบกับบางมาตราในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๑ และ
                 เวลานั้นก็ไมมีตํารวจจราจรโดยเฉพาะ ยังไมมีพระราชบัญญัติจราจรสําหรับใชบังคับคดีดังเชนในปจจุบันนี้

                 แมแตคําวา “จราจร” ก็ยังไมเกิดขึ้น ดังนั้นอํานาจหนาที่ตามพระราชบัญญัติรถยนตฉบับดังกลาว
                 จึงตกเปนของนายทะเบียน และเจาหนาที่กองทะเบียนสังกัดอยูกับกองพิเศษตํารวจนครบาลมีสํานักงาน

                 อยูในกรมตํารวจกระทรวงมหาดไทย สําหรับการกีดขวางทางในเวลานั้น รถลากและรถมาบรรทุกหญา
                 ของแขกเลี้ยงวัว กับลอเลื่อนลากเข็นดวยแรงคน (รถสาลี่) กอการกีดขวางการจราจรเปนอยางมาก

                 เพราะผูลากรถมาถาไมมีผูใดโดยสารก็มักจะลากรถเดินเอื่อยๆ ไปจากถนนตกจนถึงหลักเมืองบาง
                 จากวังบูรพาไปถึงเชียงกงบาง และมากที่สุดในถนนเจริญกรุงและถนนเยาวราชซึ่งกอใหเกิดการกีดขวาง

                 การจราจรมากที่สุด
                             ตอมา พ.ศ.๒๔๗๕ จํานวนรถชนิดตางๆ ไดเพิ่มมากขึ้นประกอบกับสะพานพระพุทธยอดฟา

                 ก็ไดสรางเสร็จเปดใชงานแลวทางสําหรับการจราจรจึงเพิ่มมากขึ้นพรอมกับจํานวนรถยนต ป พ.ศ.๒๔๗๗
                 กรมตํารวจไดจัดตั้ง “กองจัดยวดยาน” เปนหนวยขึ้นตรงตอกรมตํารวจออกตรวจตราและควบคุม
                 การจราจรโดยเฉพาะในถนนเจริญกรุงและเยาวราชมีความยุงยากในการจราจรมากที่สุด เพราะเปน

                 ถนนธุรกิจ และมีโรงมหรสพมากมายทั้งกลางวันและกลางคืน ยานพาหนะของตํารวจก็มีเพียงจักรยาน

                 สองลอตระเวนไปตามจุดตางๆ ที่กําหนดเทานั้น
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17