Page 86 - OK Print IPST Report Book 2016+
P. 86
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 85
2. ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำ เนินงาน
1. มีความเข้าใจในแนวคิดและหลักการในการจัดทำ สมรรถนะตามกลุ่มงานมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถ
นำ มาใช้งานได้จริง
2. ได้ทำ งานร่วมกันระหว่างฝ่าย เกิดการทำ งานเป็นทีม และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ
1. สมาชิกในทีมยังขาดความรู้ความเข้าใจที่จะทำ ในเรื่องนี้ จึงไม่กล้าเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่บริษัทที่ปรึกษา
ทาวเวอร์วัตสันได้จัดทำ ไว้มากนัก
2. การสืบค้นข้อมูลเพื่อนำ มาเป็นตัวอย่างในการจัดทำ มักเป็นภาพรวมไม่มีการลงรายละเอียด
3. ขาดที่ปรึกษาหรือผู้ที่จะช่วยในการตัดสินใจ เนื่องจากเป็นเรื่องสำ คัญต่อองค์กรและมีผลกระทบกับ
พนักงาน
4. เป็นงานที่ต้องใช้ระยะเวลาในการจัดทำ เพราะเป็นงานที่มีความละเอียด ต้องกลั่นกรองและร่วมกัน
พิจารณาหลายๆ ฝ่าย
5. ควรตั้งเป็นคณะทำ งานโดยเฉพาะ เพื่อจัดทำ สมรรถนะตามกลุ่มงานของทั้งสถาบัน
• โครงการอบรมการวางแผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan : IDP)
1.สรุปผลการดำ เนินงาน
วันที่ 9 มีนาคม 2559 โครงการ IDP ได้ประชุมผ่านทางเมล์ เพื่อปรับแก้โครงการเพราะมีการปรับ
ระยะเวลาในการดำ เนินการเนื่องจากเกิดความล่าช้าในการดำ เนินการไม่เป็นไปตามแผนที่กำ หนดไว้ในครั้งแรก
และได้สรุปกันอีกครั้งประมาณวันที่ 1 เม.ย. 2559 โดยได้แก้ไขโครงการให้ถูกต้องและได้นัดหมายให้มีการอบรม
โดยวิทยากรในวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 09.00 – 12.00 น. โดยอาจารย์วรเทพ ยอดดี เป็น
วิทยากร
• โครงการจัดทำ คู่มือการปฏิบัติงานของ สำ นักบริหารและสำ นักพัฒนาองค์กร สสวท.
1. สรุปผลการดำ เนินงาน
1. กรณีหน่วยงานที่ยังไม่มีคู่มือการปฏิบัติงาน ดำ เนินการจัดทำ คู่มือการปฏิบัติงานขึ้นมาใหม่
2. กรณีหน่วยงานที่มีคู่มือปฏิบัติงานอยู่แล้ว ดำ เนินการปรับแก้ไขคู่มือการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม
โครงสร้างของ สสวท. /ตาม ISO หรือตามระเบียบกระทรวงการคลัง
3. ไม่มีการจัดกิจกรรม เพราะเป็นการจัดทำ คู่มือการปฏิบัติงานของสำ นักบริหารและสำ นักพัฒนา
องค์กร สสวท. ซึ่งมอบหมายคณะทำ งานของโครงการเป็นผู้ประสานกับผู้อำ นวยการฝ่ายและผู้รับผิดชอบใน
การจัดทำ และปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้นๆ
2.ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำ เนินงาน
2.1 ทำ ให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานเดียวกันได้รับทราบขั้นตอนการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานแทน
ได้และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 ทำ ให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานอื่นได้รับทราบขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ส่งผลให้
ลดความผิดพลาด หรือเสริมสร้างความร่วมมือในการดำ เนินงานมากขึ้น
2.3 ทำ ให้ผู้ปฏิบัติงานที่เป็นพนักงานใหม่ได้เรียนรู้และรับทราบขั้นตอนปฏิบัติงาน ทำ ให้มีความเข้าใจ
และสามารถปฏิบัติงานในระยะเวลาที่เร็วขึ้น
3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ
3.1 บุคลากรในหน่วยงานไม่มีความรู้ ความชำ นาญในการทำ Flowchart
3.2 โครงการดังกล่าวไม่ควรนำ มาเป็น Project Cross Functional แต่ละหน่วยงานควรมอบหมาย
ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ และปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน และมีการรายงานให้ผู้อำ นวยการฝ่ายและผู้บริหารที่
กำ กับดูแลทราบ