Page 49 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 49

35



                       และรับผิดชอบที่จะเลือกแนวทางในการปฏิบัติอย่างอิสระบนพื้นฐานของข้อมูล ที่ได้จากการร่วม
                       ประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการหรือการท ากิจกรรมร่วมกัน


                       2.6  หลักพุทธธรรม

                                หลักธรรมของพระพุทธศาสนา มีหลักค าสอน ที่เหมาะแกจริตนิสัยของบุคคล ในการฝ
                       กฝน พัฒนาตนเอง ในหลายระดับ คือ ตั้งแต่ในระดับศีลธรรม กุศลกรรมบถ และในระดับสัจธรรม
                       ชั้นสูง คือ มรรคมีองค ๘ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาฝกฝน อบรมสาธุชนใหมีความสามารถด ารงชีวิตอยูในสังคม

                       ได้ด้วยความเป็นปกติสุข มีอาชีพสุจริต สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนตามหลักพุทธธรรม เชน
                       หลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ และปญญา ซึ่งเปนเครื่องมือ ส าหรับการพัฒนาทั้งด้านความประพฤติ
                       ทางกาย วาจา ดานจิตใจและดานปญญา เป็นหลักธรรมพื้นฐาน ที่สงเสริมใหสังคมมนุษย สามารถ
                       ด าเนินชีวิต ไปอยางมีคุณภาพ คือ การมีชีวิตอยู่บนความไม่ประมาทหรือความไม่เสี่ยง

                                การน าหลักพุทธรรมมาเป็นสรณะในการครองตน บนหลักการความไม่ประมาท ในแต่ละ
                       ช่วงวัยของปัจเจกบุคคล เช่น ช่วงปฐมวัย อาจส่งเสริมให้มีอิทธิบาทธรรม เพื่อให้เกิดความวิริยะ
                       อุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียน ช่วงวัยผู้ใหญ่ คือ ด ารงตนอยู่ในความหมั่นพากเพียรในการประกอบ

                       อาชีพสุจริต ท างานเพื่อสร้างฐานะทางการเงินหรือเศรษฐกิจในครอบครัวให้มั่นคง ช่วงวัยสุดท้ายของ
                       ชีวิต ซึ่งคือวัยผู้สูงวัย ควรด ารงตนอยู่ในหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมแก่ตน เพื่อให้สามารถที่จะด าเนิน
                       ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข
                                หลักพุทธธรรมที่ผู้สูงวัย ควรน ามาเป็นสรณะ ในการปฏิบัติให้ชีวิตตนเองมีอายุยืน ควรเริ่ม
                       ที่การฝึกจิตใจ ให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ตามกฎไตรลักษณ์ กล่าวคือ จะต้องเชื่อมั่นในตนเองว่า

                       สามารถท าได้ ไม่ท้อถอยหรือไม่ยอมแพ้ และยืนหยัดที่จะพัฒนาหรือฝึกฝนตนเอง อย่างสม่ าเสมอ
                       โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ “การมีอายุยืนอย่างมีคุณภาพ” หลักพุทธธรรมที่จะสามารถพัฒนาผู้สูงวัยให้
                       มีอายุยืนอย่างมีคุณภาพนั้น มีหลายหลักธรรม ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัย ขอน าเสนอ 3 หลักธรรม

                       ดังนี้

                                1  พละ 5 (power) แปลว่า ธรรมอันเป็นก าลัง ที่เรียกว่า พละ เพราะมีความหมายว่าเป็น
                       พลัง ท าให้เกิดความมั่นคงครอบง าเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความ
                       ฟุ้งซ่านและ ความหลง เป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจ าพวกโพธิปักขิยธรรม ส่วนค าว่า
                       ก าลังในที่นี้ คือ ก าลังแรงความเข้มแข็ง ที่ท าให้ข่มขจัดได้แม้แต่ก าลังแห่งมาร ท าให้สามารถด าเนิน

                       ชีวิตที่ดีงาม ปลอดโปร่งเป็นสุข บ าเพ็ญกิจด้วยความบริสุทธิ์และเต็มที่ ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใด ๆ
                       จะสามารถ บีบคั้นครอบง า ได้แก่ วิมุตติ ความหลุดพ้น หมดสิ้นอาสวะ หรืออรหัตตผล  พละนี้ยัง
                       สามารถ แปลได้ว่า ก าลังที่เป็นพื้นฐานเป็นรากฐานด้วย พละ 5 จึงเป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจให้ถึง
                       ความหลุดพ้นโดยตรง  พละ5 ประกอบด้วยหลักธรรม 5 อย่าง ได้แก่

                                1)  สัทธา (confidence) คือ ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม เช่น เชื่อมั่นว่า การที่คนเราจะ
                       ประสบความส าเร็จในชีวิตนั้น ไม่จ าเป็นต้องหาเงินมาด้วยวิธีการเอารัดเอาเปรียบคนอื่น เชื่อมั่นว่า
                       บุคคลที่ประกอบแต่กรรมดี ย่อมได้รับผลดี

                                2)  วิริยะ (energy; effort) คือ ความเพียรพยายาม ถ้าปรารถนาจะท าการสิ่งใดให้ส าเร็จ
                       แล้ว ก็มีความเพียรพยายามกระท าไป ไม่ท้อถอย
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54