Page 44 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 44

30



                                ขั้นตอนของการมีส่วนร่วม

                                โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (2528, หน้า 94 อ้างถึงใน ทานตะวัน อินทร์จันทร์,2546 หน้า
                       20) ได้ให้ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี้
                                1  การค้นหาปัญหา สาเหตุของปัญหา และพิจารณาแนวทางแก้ไข
                                2  การตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไข และวางแผนหรือโครงการแก้ไขปัญหา

                                3  การปฏิบัติการแก้ไขปัญหาตามแผนและโครงการที่วางไว้
                                4  การรับประโยชน์จากโครงการ
                                                                                       13
                                5  การประเมินผลโครงการ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
                                จอนห์ และอัฟฮอฟ (Jonh & Uphoff) (อ้างถึงใน ทานตะวัน อินทร์จันทร์) ได้แบ่งชนิด
                                                    14
                       ของการมีส่วนร่วม ออกเป็น 4 ชนิด  คือ
                                1  การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (ว่าควรท าอะไร)
                                2  การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (Implementation) ประกอบด้วยการสนับสนุน ด้าน
                       ทรัพยากรการบริหารและการประสานขอความร่วมมือ
                                3  การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Benefits) ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ทางด้านวัตถุ

                       ผลประโยชน์ทางสังคม หรือผลประโยชน์ส่วนบุคคล
                                4  การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation) หลักการสร้างการมีส่วนร่วม  หลักการ
                       สร้างการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ภาคส่วนของสังคมได้

                       เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคราชการนั้น (International Association for Public Participation) ได้
                       แบ่งระดับของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น 5 ระดับ ดังนี้   ce3

                                1)  การให้ข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ าที่สุด แต่เป็น
                       ระดับที่ส าคัญที่สุด เพราะเป็นก้าวแรกของการที่ภาคราชการจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่
                       กระบวนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ วิธีการให้ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสาร สิ่งพิมพ์

                       การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางเสื่อต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ จดหมายข่าว การจัดงานแถลงข่าว
                       การติดประกาศ และการให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น
                                2)  การรับฟังความคิดเห็น เป็นกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล
                       ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การรับ

                       ฟังความคิดเห็น การส ารวจความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ การแสดงความคิดเห็น ผ่านเว็บไซต์
                       เป็นต้น
                                3)  การเกี่ยวข้อง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วม
                       เสนอแนะทางที่น าไปสู่การตัดสินใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็นและ

                       ความต้องการของประชาชนจะถูกน าไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงานของภาครัฐ เช่น การ


                                13  โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (2528, หน้า 94 อ้างถึงใน ทานตะวัน อินทร์จันทร์,การมีส่วนร่วมของ
                       คณะกรรมการชุมชนย่อยในเขตเทศบาลเมืองล าพูน,” การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
                       รัฐประศาสนศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546), หน้า 20.
                                14  จอนห์ และอัฟฮอฟ (Jonh & Uphoff, 1980 อ้างถึงใน ทานตะวัน อินทร์จันทร์, ,2546),หน้า 21.
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49