Page 42 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 42

28



                       ความดันโลหิตสูง คือ สภาวะของความดันโลหิตที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติของแต่ละอายุ สาเหตุส่วนใหญ่
                       เกิดจากหลอดเลือดฝอยตีบ แคบ หรือมีภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งจะพบได้มากในผู้สูงอายุท าให้เกิด
                       โรคลมอัมพาต หัวใจวาย โรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายและความพิการที่ส าคัญของผู้สูงอายุ
                       การตรวจความดันโลหิตจะเป็นเครื่องบงชี้ให้ผู้สูงอายุได้ทราบสภาพของตนเอง และหาแนวทาง

                       ป้องกันการเกิดโรคที่จะตามมาเนื่องจากความดันโลหิตสูง
                                     2)  การตรวจเลือด เป็นการตรวจเพื่อสืบค้นการเป็นโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไต
                       โรคตับ และโลหิตจาง การตรวจหาความผิดปกติของเลือด เมื่อมีอายุมากขึ้น กลับเป็นสิ่งจ าเป็น
                       เนื่องจากอาหารที่กินเข้าไปร่วมกับความเสื่อมสภาพของร่างกาย

                                     3)  การตรวจสอบความผิดปกติของ ตา หู และฟัน โดยเฉพาะฟันควรพบทันต
                       แพทย์6 เดือนต่อครั้ง อย่างน้อยเพื่อขูดหินปูน และตรวจสุขภาพทั่วไปของฟัน
                                     4)  การเอกซเรย์ดูสภาพปอด จะท าเฉพาะในรายที่สูบบุหรี่หรือมีอาชีพต้องสัมผัสกับ
                       ฝานละอองหรือสารพิษหรือปอดอยู่ในที่มีอาการเป็นพิษ เพื่อตรวจหารอยโรคที่ปอดมะเร็ง และวัณ

                       โรค
                                     5) การตรวจหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ เป็นการดูสภาพการท างานของหัวใจ การ
                       ตรวจนี้จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์การตรวจเฉพาะ ผู้ชายจะตรวจหาความผิดปกติของต่อม

                       ลูกหมาก และ ผู้หญิงจะตรวจหาความผิดปกติของเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ตรวจประเมิน
                       สุขภาพจิต การตรวจร่างกายเป็นสิ่งจ าเป็นอย่างยิ่ง ในการรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุที่ท าเพื่อการ
                       ตรวจสอบและรักษาเท่านั้น ไม่จ าเป็นต้องกังวล หรือตรวจซ้ าๆโดยไม่จ าเป็น การตรวจร่างกายปีละ 1
                       ครั้ง จะเป็นการประกันสุขภาพที่เหมาะสมที่สุด


                       2.3  แนวคิดการมีส่วนร่วม

                                การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์กร เพราะมีผลในทางจิตวิทยาเป็นอย่าง

                       ยิ่ง กล่าวคือผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมย่อมเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความคิดเห็น
                       ถูกรับฟังและน าไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหา และที่ส าคัญผู้ที่มีส่วนร่วม จะมีความรู้สึก
                       เป็นเจ้าของความรู้สึกเป็นเจ้าของจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนงานที่ดีที่สุด

                                ความหมายของการมีส่วนร่วม
                                การมีส่วนร่วม (participation) คือ เป็นผลมาจากการเห็นพ้องกันในเรื่องของความ

                       ต้องการและทิศทางของการเปลี่ยนแปลงและความเห็นพ้องต้องกัน จะต้องมีมากจนเกิดความคิดริเริ่ม
                       โครงการเพื่อการปฏิบัติเหตุผลเบื้องแรกของการที่มีคนมารวมกันได้ควร จะต้องมีการตระหนักว่า
                       ปฏิบัติการทั้งหมดหรือการกระท าทั้งหมดที่ท าโดยกลุ่มหรือในนามกลุ่มนั้น กระท าผ่านองค์การ
                       (organization) ดังนั้นองค์การจะต้องเป็นเสมือนตัวน าให้บรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงได้
                                                                                             9





                                9  ยุพาพร รูปงาม, การมีส่วนร่วมของข้าราชการส านักงบประมาณในการปฏิรูประบบราชการ,
                       วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม,คณะพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตบริหาร
                       ศาสตร์, 2545), หน้า 5.
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47