Page 37 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 37
23
ทฤษฏีกลุ่มที่ 1 กลุ่มทฤษฏีทางชีวภาพ มุ่งอธิบายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทาง
สรีรวิทยา ทฤษฎีกลุ่มนี้จะมองความมีอายุในด้านของความเสื่อม และความดับของสภาวะความมีชีวิต
ของร่างกายหลังจากการเจริญเติบโตเต็มที่แล้วตามกาลเวลา ซึ่งเป็นทั้งหญิงและชายเพียงแต่ชาย
ปรากฏความเสื่อมช้ากว่าหญิง แต่มิได้หมายความว่าชายอายุยืนกว่าหญิง เพราะจากสถิติพบว่าผู้หญิง
อายุเกิน 100 ปีมากกว่าชาย
ทฤษฎีกลุ่มที่ 2 กลุ่มทฤษฎีทางสังคมหรือทฤษฎีบุคลิกภาพได้มองความมีอายุในลักษณะ
ของสภาวะการปรับตัวทางสังคมและบุคลิกภาพ เพื่อความอยู่รอดได้ในสังคม ทฤษฎีนี้จะเน้นความมี
อายุตามกฎแห่งสังคม จากนั้นจะมีช่วงแห่งการปรับตัวซึ่งเป็นความสามารถของบุคคล อายุจะยืนยาว
มากน้อยจึงขึ้นอยู่กับแต่ละคน
จากการศึกษาพบว่า เซลล์ร่างกายสามารถแบ่งตัวและคงชีวิตได้นานกว่า 100 ปี ฉะนั้น
คนจะมีอายุ 100 ปี จึงเป็นไปได้ แต่ส่วนใหญ่คนมักไม่ไปถึงโอกาสนั้น เนื่องจาก การเป็นโรคและ
ความเจ็บป่วยมา ท าให้ชีวิตสิ้นสุดไปก่อนธรรมชาติก าหนด ดังนั้น การดูแลและส่งเสริมสุขภาพจึง
น่าจะเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถท าให้ชีวิตด ารงอยู่ได้นานที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ โดยธรรมชาติ
การมีอายุยืนต้องประกอบด้วยการมีสุขภาพที่ดี ร่างกายมีความคล่องตัว อยู่ในสภาวะ
สังคมปกติได้ ไม่เป็นปัญหาสังคม จึงเรียกว่า อายุยืนแท้ สิ่งที่คนไม่พยายามศึกษาเลยว่า การมีอายุยืน
นั้นไม่ได้อยู่ที่การกิน อยู่ที่นอน แต่มีหลายๆ อย่างประกอบกัน
ประการแรก คือ เพศ ผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะ
1 ผู้หญิงใช้ก าลังกายในการท างานน้อยกว่าผู้ชาย
2 ผู้หญิงมีความเครียดของร่างกายและจิตใจน้อยกว่า เพราะผู้หญิง สามารถระบาย
อารมณ์ได้หลายรูปแบบ
3 ร่างกายผู้หญิงสามารถปรับสมดุลในภาวะเครียดต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ชาย และสาเหตุที่ท า
ให้ชายอายุสั้นก็คือ อุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการเดินทาง และการท างาน อันตรายจากการดื่มสุราและ
การสูบบุหรี่ ท าให้ผู้ชายอายุสั้นกว่าผู้หญิง
ประการที่สอง การปรับตัวตามวัย จุดเริ่มต้นของผู้สูงอายุเริ่มเมื่ออายุ 60 ปีไปแล้ว คือการ
ปรับตัวจริงๆ แล้วการปรับตัวของคนเราเริ่มมาตั้งแต่อายุเข้า 40 ปี ที่เป็นวัยของการเปลี่ยนสายตา
เปลี่ยนอารมณ์ ซึ่งการยอมรับความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในช่วงอายุนี้ จะส่งผลไปยังการปรับตัวตาม
วัยของผู้สูงอายุด้วย
ในขั้นต้นผู้สูงอายุต้องเข้าใจงานหรือสิ่งที่เกิดขึ้นตามวัย ซึ่งนักจิตวิทยา เฮฟวิงเฮิร์ส
ได้ประมวลว่า เมื่อมีอายุได้ที่ 60 ปีแล้ว คนเราจะมีงานตามพัฒนาการตามวัยปรากฏอยู่ 6 ประการ
คือ
1) การต่อสู้กับภาวะความอ่อนแอของร่างกายและความเสื่อมถอย
2) การปรับตัวให้เข้ากับภาวการณ์เกษียณอายุและด้านการเงิน
3) การปรับตัวเมื่อคู่สมรสเสียชีวิต
4) การเข้าร่วมกับกลุ่มวัยเดียวกัน
5) การปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบของสังคมใหม่
6) การด ารงไว้ซึ่งความพึงพอใจของระบบชีวิตในปัจจุบันที่เป็นอยู่