Page 34 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 34

20



                                ข้อดีอย่างหนึ่ง ผู้สูงอายุสามารถปรับและพัฒนาโครงสร้างขององค์ประกอบทางจิตใจไป
                       ในทางทีดีงามได้มากขึ้น และสามารถควบคุมจิตใจได้ดีกว่าวัยหนุ่มสาว เราจึงพบว่าเมื่อคนมีอายุมาก
                       ขึ้น มักมีความสุขุมมากขึ้นด้วย ผู้สูงอายุจะพัฒนาลักษณะของโครงสร้างทางจิตใจเฉพาะความเป็น
                       ตนเอง ซึ่งเป็นฐานะของการแสดงออกตามวัยของบุคคล โดยลักษณะการแสดงออกขึ้นอยู่กับ

                       บุคลิกภาพ การศึกษา ประสบการณ์ สภาพสังคมในวัยเด็กและผู้ใหญ่ของคนๆนั้น บางคนมี เมตตา
                       บางคนมีการวางท่าทางเป็นคุณท้าว บางคนก็สงบชีวิตปลีกวิเวกไปอยู่วัด บุคลิกภาพตามวัยและจิตใจ
                       ของผู้สูงอายุเกิดขึ้นตามความมีอายุส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ที่ได้รับท าให้เกิดการ
                       ก าหนดสภาพทางจิตใจ และการแสดงออกของผู้สูงอายุต่างกันไปดังนี้

                                1  การรับรู้ ผู้สูงอายุมักจะยึดมั่นกับความคิดและเหตุผลของตนเองท าให้ยากต่อการรับรู้

                       ต่อสิ่งใหม่ อีกทั้งความสามารถและประสิทธิภาพของอวัยวะรับความรู้สึกและการสื่อสาร เสื่อม
                       สมรรถภาพลง ท าให้การท าความเข้าใจ การสื่อข้อมูลด้วยค าพูด กิริยาท่าทาง หรือการสื่อในรูปแบบ
                       อื่นๆเป็นไปอย่างช้าๆ และไม่สู้สมบูรณ์ ส่งผลให้การแปลความ หรือตีความมีโอกาสผิดพลาดง่าย

                       ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงมักใช้ประสบการณ์ที่เคยผ่านมา เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินการรับรู้ของ
                       ตนเอง

                                2  การแสดงออกทางอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของผู้สูงอายุเป็นกลไก
                       เกี่ยวเนื่องกับการสนองความต้องการของจิตใจ สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและ
                       สมรรถนะ ผู้สูงอายุจะมีความรู้สึกของตนเอง ในแง่ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นความท้อแท้ และน้อยใจ

                       โดยรู้สึกว่า สังคมมิให้ความส าคัญแก่ตนเอง อย่างที่ที่เคยเป็นมาก่อน บางครั้งผู้สูงอายุเอง ก็ลืมไปว่า
                       ตนได้ถึงวาระแห่งการเปลี่ยนแปลงแล้ว กลายเป็นความโลภ ท าให้ผู้สูงอายุ มีอารมณ์ไม่มั่นคง เมื่อถูก
                       กระทบกระเทือนจิตใจ เพียงเล็กน้อยส่งผลให้ผู้สูงอายุเสียใจ หงุดหงิด หรือโกรธได้ง่าย

                                3  การสร้างวิถีชีวิตของตนเอง ความมีอายุเป็นการเดินทางใกล้แห่งความสิ้นสุด ผู้สูงอายุ
                       เริ่มนับเวลาที่เหลือ จากปีไปเป็นเดือน และเป็นชั่วโมง เริ่มเตรียมเข้าสู่สภาวะสุดท้ายของชีวิต

                       ผู้สูงอายุหลายคนปรับตัว บางคนเดินทางไปสู่งานใหม่ เพื่อกระตุ้นเร้าใจให้ใจสุข แต่ผู้สูงอายุบางคน
                       กลับสนใจที่จะท างานที่บ้านอยู่แบบผู้สูงอายุที่พอเพียง และมีไม่น้อยที่หาความสงบทางจิตใจทาง
                       ศาสนา การเลือกวิถีด าเนินชีวิตให้กับตนเอง เป็นโลกใหม่ของวัยสูงอายุ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป
                       ตามเหตุผลและความพึงพอใจของแต่ละบุคคล บางคนมุ่งสร้างความดี บางคนมุ่งชีวิตสงบเข้าวัด ถือ

                       ศีล กินมังสวิรัติ บางคนชอบเลี้ยงหลาน และบางคนก็ชอบอยู่คนเดียว เพราท าให้รู้สึกอิสระและได้ใช้
                       ชีวิตอย่างที่ตนชอบในช่วงสุดท้ายของชีวิต

                                4  ความสนใจสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุจะสนใจสิ่งแวดล้อม เฉพาะที่ท าให้เกิดความพึงพอใจ
                       และตรงกับความสนใจของตนเองเท่านั้น โดยมีอารมณ์เป็นพื้นฐาน ความสนใจส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่
                       ตัวเอง เพราะมีเวลาที่จะคิดถึงตัวเอง เนื่องจากว่างจากภารกิจการงาน และสังคม แต่จะชอบหรือ

                       สนใจในสิ่งที่ตนคุ้นเคยเท่านั้น งานแปลกใหม่อื่นๆ จะไม่ชอบหรือชอบน้อยกว่า ความสนใจ
                       สิ่งแวดล้อมอื่นๆ อาจมีอยู่บ้าง แต่ลดถอยไปมาก ชอบชีวิตเรียบง่าย ความมุ่งหวังหรือใฝ่ฝันในชีวิต
                       ลดลง หรือไม่มีเลย ชอบที่จะเป็นผู้ตามมากกว่าผู้น า ยกเว้นบางคนที่ยังคงความสามารถอยู่แต่มีน้อย
                       คนมาก
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39