Page 35 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 35

21



                                สรุป  การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและสมรรถภาพมีผลโดยตรงต่อสภาวะจิตใจ
                       เพราะลักษณะการเปลี่ยนแปลงของวัยสูงอายุจะเป็นการลดอัตราความเจริญลงไปสู่ความเสื่อม ซึ่งท า
                       ให้
                                1  มีผลกระทบอย่างมากทั้งตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม

                                2  มีความเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจ
                                3  ความเสื่อมที่เกิดจะเพิ่มขึ้นตามล าดับ
                                4  การเปลี่ยนแปลงต่างๆจะบังเกิดให้ผู้สูงอายุเห็นว่า เป็นความเสื่อมถอย เริ่มมีข้อจ ากัด
                       ทั้งตนเองและสังคม ซึ่งผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี จะใช้การปรับตัวที่เป็นคุณ บางคนอาจหาทางออกด้วย

                       การเริ่มต้นชีวิตใหม่ งานใหม่ หรือยอมรับเงื่อนไจตามวัยของตน การปรับตัวของผู้สูงอายุต่างจากวัย
                       อื่นทั้งที่เป็นการปรับตัวเหมือนกัน

                                 2.2.4  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

                                เมื่อมีอายุแล้วร่างกายมีข้อจ ากัด ท าให้ขาดความกระฉับกระเฉง จากวัยท างานที่รุ่งโรจน์
                       เป็นเจ้าคนนายคน กิจการรุ่งเรือง มีหน้าที่การงานก้าวหน้าตามวัยของคนท างาน แต่เมื่อพ้นปีที่ 60
                       ของอายุแล้ว ภาระหน้าที่และบทบาททางสังคมกลับลดลงตามวัย ต้องห่างเหินจากสังคม ยิ่งถ้า

                       ผู้สูงอายุนั้นต้องเกษียณจากงานประจ า ขาดอ านาจหน้าที่การยอมรับนับถือ คนที่เคยพูดพบหน้าก็
                       เลี่ยงหลบ ตรงนี้คือ การเปลี่ยนแปลง การยอมรับในสังคมของวัยสูงอายุมักเป็นไปในทางลบ สังคมมัก
                       ประเมินความสามารถของคน ในแง่การปฏิบัติ ถึงแม้ว่า จะมีผู้สูงอายุบางคนจะแสดงให้เห็นว่าความมี

                       อายุมิได้เป็นอุปสรรคต่อการด าเนินบทบาท ยังท าหน้าที่ได้ตามปกติ สามารถท างานในหน้าที่ได้อย่างมี
                       ประสิทธิภาพเหมือนคนวัยท างานก็ตาม แต่ด้วยอ านาจหน้าที่ที่ต้องหายไปตามอายุ 60 ปี ซึ่งเป็นอายุ
                       การเดินทางออกจากสังคมที่ท าเป็นประจ า ซึ่งการออกจากสังคมนี้มี 2 กรณี คือ หนึ่ง เป็นข้อก าหนด
                       ของสังคมให้ต้องออกจากบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบด้วยการปลดเกษียณ เมื่อครบก าหนดเวลา
                       ตามอายุปีปฏิทินคือ 55-65 ปี และ สอง ออกจากสังคมด้วยสถานการณ์เปลี่ยนแปลงตามวัยด้วยการ

                       ละจากบทบาทการเป็นผู้น าครอบครัว มาเป็นสมาชิกที่ปรึกษาของครอบครัว ซึ่งการเปลี่ยนแปลง
                       บทบาทที่สองนี้มักเป็นความพึงพอใจและยอมรับสภาพตามวัยของผู้สูงอายุเอง การออกจากสังคมไม่
                       ว่ากรณีใด มีผลต่อความรู้สึกภายในของผู้สูงอายุ

                                การแสดงออกของผู้สูงอายุจะต่างกัน จ าแนกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

                                ประเภทที่ 1 ผู้สูงอายุที่ยอมรับสภาพความมีอายุ จะมีการปรับตัวแบบยอมรับ ผู้สูงอายุ
                       ประเภทนี้ ยังคงความเป็นตัวเอง และคงความสามารถของตนเองได้ดี มีความพึงพอใจและเห็นคุณค่า
                       ของชีวิต มีการประพฤติปฏิบัติ โดยสอดคล้องตามวัยของตนด้วยความพอใจ ไม่เป็นภาวะต่อ
                       ครอบครัวหรือผู้เกี่ยวข้อง จ าแนกออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

                                1  กลุ่มที่มีความเป็นอยู่อย่างสงบ สามารถอยู่ได้อย่างอิสระ ไม่เป็นภาระครอบครัว มี
                       ความสุขกับชีวิตบั้นปลายด้วยตนเอง เช่น ท าสวน ไปวัด ปฏิบัติธรรม
                                2  กลุ่มที่มีความสนใจกิจกรรม เป็นกลุ่มที่เข้าสังคม และเลือกเข้ากิจกรรมที่ตนสนใจมาก
                       โดยถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจ าวัน อาจไปท างานใหม่ เป็นวิทยากร
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40