Page 36 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 36

22



                                3  กลุ่มที่มุ่งท าตนเป็นประโยชน์ให้แก้สังคม ตามที่จะพึงกระท าได้ คนกลุ่มนี้จะชอบ
                       กิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น กิจกรรมสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร หรือจัดบริการสังคม ตาม
                       ความสามารถ เป็นต้น
                                ประเภทที่ 2  ผู้สูงอายุที่ชอบต่อสู้และมีพลังใจสูง ผู้สูงอายุนี้ จะมีความกระฉับกระเฉง

                       คล่องตัว ใจสู้ไม่ยอมแพ้ กับชีวิตและวัย แต่กลับมีความคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ใหม่ๆ ขึ้น มองเห็น
                       ประโยชน์ที่พึงให้แก่สังคม และอนาคต สามารถท างานได้ประสบความส าเร็จ ดังที่คิด ผู้ที่มีลักษณะ
                       เช่นนี้ ได้แก่ นักคิด นักประดิษฐ์ และผู้น าด้านต่างๆ เป็นต้น
                                ประเภทที่ 3  ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรม ถดทอย ไม่ยอม

                       ช่วยเหลือตัวเอง ไม่ชอบเข้าร่วมกิจกรรม สิ้นหวังและท้อแท้ต่อชีวิต ต้องการความใส่ใจ และเอาใจใส่
                       จากครอบครัวมากกว่าปกติ เป็นลักษณะที่คิดว่า แก่แล้วท าอะไรไม่ได้ ลูกหลานต้องดูแลผู้สูงอายุ
                       ประเภทนี้ จะพบได้ในคน 4 จ าพวก คือ
                                1  ร่ ารวยมาก ลูกหลานเอาใจใส่ประคบประหงมจนเคยตัว

                                2  ผู้ที่เคยท างานหนักมาก่อน เมื่อลูกหลานมีฐานะดี ก็ให้ความค้ าจุนดูแล และคอย
                       สนองตอบอย่างสม่ าเสมอท าให้เกิดความส าคัญตัวเองมากกว่าปกติ
                                3  พวกเคร่งธรรมเนียมและวัฒนธรรม โดยถือว่า ผู้สูงอายุ คือ คนที่ลูกหลานต้องให้การ

                       ดูแลรับผิดชอบ ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ จะแก่ไว เพราะหวังให้ดูแล
                                4  พวกสิ้นหวังในชีวิตท างานหนักแต่ไม่ได้ผล เมื่อเริ่มมีอายุก็หยุดท างานหวังพึ่งลูกหลาน
                                ประเภทที่ 4 ผู้สูงอายุที่สิ้นหวังในชีวิต พฤติกรรมนี้จะพบในผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ
                       มีความเสื่อมของร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมรับสภาพความเป็นจริง พยายามหลีกหนีชีวิต เกิดการ
                       เจ็บปวดทางจิตใจ บางรายคือท้อแท้มากถึงท าอัตวินิบาตกรรมเมื่อสูงอายุ


                                 4  การมีอายุยืน
                                มนุษย์ทุกคนปรารถนาการมีอายุยืน ต้องการมีชีวิตให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ บางคนมี

                       หวัง พ่อแม่ พี่น้องเป็นคนมีอายุยืน ตนเองคงจะมีอายุยืนไปด้วย จากการศึกษาพบว่ากรรมพันธุ์มีส่วน
                       สัมพันธ์กับการมีอายุยืนน้อยมาก แม้แต่คู่แฝดไข่ใบเดียวกัน อายุยังยืนยาวแตกต่างกันมาก
                       องค์ประกอบของความมีอายุยืนจึงมิใช่มาจากกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยส าคัญแต่จากการศึกษาข้อเขียน

                       เกี่ยวกับผู้มีอายุยืนกว่า 100 ปีหลายเล่ม พบว่าปัจจัยที่ท าให้คนเหล่านั้นมีอายุยืนอยู่ที่การมีสุขภาพดี
                       และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่รื่นรมย์ มีอากาศบริสุทธิ์เป็นหลัก ฉะนั้นการดูแลรักษาสุขภาพจึงน่าจะเป็น
                       แกนส าคัญของการมีอายุยืนมากกว่าปัจจัยอื่นๆ อย่างน้อยก็ช่วยให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่ได้ปกติสุข
                       เช่นเดียวกับบุคคลวัยอื่นๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัย หรือสร้างความล าบากให้แก่ครอบครัวหรือสังคมที่

                       ตนอยู่ด้วย
                                ความมีอายุเป็นธรรมชาติที่ไม่อาจยับยั้งได้นอกจากโรคหรืออุบัติเหตุจะคร่าชีวิตไปก่อนวัย
                       สมควร โดยธรรมชาติของชีวิตแล้วคนมีอายุยืนได้ไม่ต่ ากว่า 100 ปี การมีอายุยืนคืออะไร ท าไมจึง
                       เรียกอายุยืน มีกลุ่มทฤษฏีอยู่ 2 กลุ่ม ที่มีความคิดต่างกันแต่เป็นนัยเดียวกัน ว่าแท้จริงอายุยืนอยู่ที่กาย

                       กับจิตที่จะท าให้เกิดการ “ยืน”
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41