Page 31 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 31

17



                                2.2.1  การเปลี่ยนทางสมรรถภาพ

                                สมรรถภาพ คือ ความสามรถในการปฏิบัติงานของร่างกาย จิตใจ และสมอง หลายคน
                       มองเห็นว่าความมีอายุท าให้สมรรถภาพด้านต่างๆของคนลดลงโดยอัตโนมัติ ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วไม่
                       เป็นเช่นนั้นเสมอไป ความเสื่อมถอยทางสมรรถภาพในผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจ
                       เนื่องจากความจ ากัดทางร่างกาย การขาดสิ่งจูงใจ หรือปัญหาทางสุขภาพก็ได้ ความเสื่อมถอยทาง

                       สมรรถภาพที่เกิดขึ้นจะเป็นในแง่ความรวดเร็วในการตอบสนองสิ่งเร้าที่ช้ากว่าวัยรุ่นหนุ่มสาวเท่านั้น
                       แต่ถ้าพิจารณาในแง่คุณภาพของสมรรถภาพแล้วยังคงเดิมเป็นส่วนใหญ่ การตัดสินสมรรถภาพของคน
                       มักจะไปมองในแง่ประสิทธิภาพซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ผู้สูงอายุจะคงความสามารถเช่นนั้น ต้องมีการ
                       เปลี่ยนแปลงบ้าง ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถภาพของผู้ใหญ่ มีดังนี้

                                 1  การมองรูปลักษณ์ตนเอง

                                 ผู้สูงอายุจะมีมโนทัศน์และการมองรูปลักษณ์ของตน (Self-image) ที่แตกต่างกัน บางคน

                       มองเห็นคุณค่า และความสามารถของตน บางคนมองตนอย่างไร้ความหมาย นั่งรอวันตายใช้ชีวิตให้
                       หมดไปวันหนึ่งๆ โดยไม่มีความหมาย ซึ่งการมองตนเองเช่นนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีตและ
                       พัฒนาการของชีวิตว่าประสบผลส าเร็จมากน้อยเพียงใด ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ผู้ตั้งทฤษฏีจิต

                       วิเคราะห์กล่าวว่า การที่บุคคลยึดมั่นถือมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งของตนนั้น เนื่องจากมีความขัดแย้งใน
                       จิตใจที่เกิดขึ้นระยะใดระยะหนึ่งของการพัฒนาการตามวัยของชีวิต แล้วไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึง
                       ถ่ายทอดความคับข้องใจนี้ไปเป็นการยึดความคิดตนเป็นสรณะ มองความสามารถ รูปลักษณ์ และมี
                       มโนทัศน์ต่อตนเองไปในลักษณะที่ตนคิดว่าควรจะเป็น ซึ่งบางครั้งท าให้การใช้ความสามารถในการ
                       ปฏิบัติงานไม่ตรงกับความสามารถแท้จริงของตน ท าให้ดูเหมือนว่ามีอายุแล้วสมรรถภาพลดลง


                                 2  บุคลิกภาพ
                                 บุคลิกภาพเป็นผลที่มาจากกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม การรับรู้ และการคิด ความเข้าใจก่อตัว

                       เข้าเป็นบุคลิกภาพของคนๆนั้น ซึ่งลักษณะบุคลิกภาพและอุปนิสัยในวัยสูงอายุจะเป็นแบบใดนั้น จึง
                       ขึ้นอยู่กับการพัฒนามาตั้งแต่วัยเด็ก ทางด้านร่างกาย อารมณ์ เชาวน์ปัญญาและการปรับตัวในสังคม
                       ลักษณะของบุคลิกภาพของแต่ละคนจะบ่งบอกนิสัยการแสดงออกพฤติกรรม ท่าที และจิตใจของคนๆ

                       นั้น ดังนั้น ผู้สูงอายุที่มีบุคลิกภาพอ่อนมาตั้งแต่สมัยเด็ก ก็ย่อมจะมีลักษณะและความสามารถไปอย่าง
                       นั้นด้วย เมื่อมีข้อจ ากัดทางกายตามอายุจะเสริมให้บุคลิกสงบมากขึ้น แต่ผู้สูงอายุที่แกร่งกล้ามาก่อน
                       พอมีอายุก็ยังคงบุคลิกแกร่งกล้านั้นได้

                                 3  ความสนใจ

                                 คนเมื่อมีอายุจะมีลักษณะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นฐาน ไม่สนใจงานท้าทาย ไม่
                       ชอบงานใหม่ๆ ที่ต้องใช้การตัดสินใจและความสามารถสูง เพราะความจ ากัดของร่างกาย ท าให้

                       ผู้สูงอายุไม่มั่นใจและวิตกกังวลกับความส าเร็จ ไม่กล้าเสี่ยงท า เพราะถ้าผิดพลาดกลัวอายเด็ก อีก
                       ประการหนึ่งผู้สูงอายุจะมองว่าชีวิตของตนก าลังสิ้นสุด อนาคตและผลลัพธ์ ความหวังในชีวิต
                       ความส าเร็จ เกียรติยศ ไม่มีความหมายต่อไปอีกแล้ว ท าให้ผู้สูงอายุไม่อยากได้สิ่งใหม่ สิ่งที่ผู้สูงอายุจะ
                       หันไปสนใจมากขึ้นก็คืองานในลักษณะแบบเดิมที่ตนคุ้นเคยมามากกว่าการท างานใหม่ๆ
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36