Page 28 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 28

14



                                2)  ผู้สูงอายุระดับกลาง (The Middle Old) เป็นผู้มีอายุ 71-80 ปี มีการเปลี่ยนแปลง
                       สภาวะทางกายภาพและสรีระวิทยาไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ มีความพร่องในการดูแลตนเองเริ่มมี ความ
                       จ าเป็นหรือต้องการดูแลจากบุคคลอื่นในส่วนที่พร่องไป
                                3)  กลุ่มผู้สูงอายุระดับปลาย (The Old Old) เป็นผู้สูงอายุ 81 ปีขึ้นไป มีการเปลี่ยน

                       แปลงสภาวะทางกายภาพและสรีระวิทยาไปอย่างเห็นชัดเจน มีความพร่องในการดูแลตนเอง จ าเป็น
                       ต้องการการดูแลจากบุคคลอื่นในส่วนที่พร่องไป
                                                             7
                                องค์การอนามัยโลกได้ยึดความยาวของชีวิตตามปีปฏิทินเป็นเกณฑ์เบื้องต้น ได้ก าหนดวัย
                       สูงอายุมีอายุในช่วง 60-74 ปี วัยชราจะเป็นกลุ่มอายุ 75 ปีขึ้นไป แต่ในการประชุมสมัชชาโลก

                       ก าหนดให้ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

                                3.  การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ

                                ลักษณะการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอายุ มีผลกระทบอย่างมากต่อตัวผู้สูงอายุ การท างาน
                       บุคคล สิ่งแวดล้อมและสังคม เหตุเกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกายที่เพิ่มขึ้นตามล าดับอายุ แต่การ
                       เสื่อมถอยนี้มิได้หมายถึงความเจ็บปวด ไม่ใช่การเป็นโรค ผู้ที่อายุมากขึ้นสามารถบ ารุงรักษาตนเองให้
                       คงสภาพอยู่ได้ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างกระฉับกระเฉง คล่องตัวเหมือนเดิมหากเข้าใจการเปลี่ยนแปลง

                       ตามอายุ ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาไว้ 4 หัวข้อ ดังนี้

                                     1)  การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

                                                   8
                                กุลยา ตันติวาอาชีวะ   ได้กล่าวว่า ปรากฏการณ์ของความมีอายุนั้น จะด าเนินไปอย่าง
                       ช้าๆเมื่อเลยวัยกลางคนไปแล้วร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
                       เนื้อเยื่อ ความเต่งตึงลดลง กล้ามเนื้อลดความแข็งแรงขาดความกระฉับกระเฉง ขาดความไวในการ

                       ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ความสามารถในการท างานประสมประสานกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

                       ถดถอย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นกับทุกระบบของร่างกาย แต่ในอัตราและระยะเวลาที่ต่างกัน ดังนี้

                                      1.1  ผิวหนัง เมื่อมีอายุมากขึ้น ผิวหนังและเนื้อเยื่อผิวหนังจะขาดความเต่งตึง ไม่
                       ยืดหยุ่น มีลักษณะแห้งและเหี่ยวย่น โดยเฉพาะใบหน้าเป็นต าแหน่งที่เห็นรอยย่นได้ชัดเจนที่สุด เมื่อ
                       เริ่มมีอายุผิวหนังส่วนหางตาจะย่นยับเป็นตีนกาขึ้น ซึ่งบางคนอาจยับน้อย แต่กลับไปมีรอยย่นที่หนัง

                       ตาด้านล่างแทนหรือหนังตาชั้นล่างแทนหรือหนังตาชั้นล่างห้อยเป็นถุงใหญ่ขึ้นตามความมีอายุบางคน
                       หน้าผากย่นเป็นรอย นอกจากนี้เมื่ออายุมากขึ้นอีกบางคนจะมีผิวตกกระหรือมีหูด คนแก่เป็นติ่งเนื้อ
                       งอกเป็นเม็ดเล็กๆ สีเหลือง สีน้ าตาลหรือด าออกมาตามตัวแขนขาหรือใบหน้า เป็นจุดเล็กๆสังเกตเห็น
                       ได้แต่ไม่มีอันตราย

                                      1.2  ตา ความมีอายุท าให้เลนส์ตาเสื่อม ความสามรถในการปรับระยะภาพลดลง
                       สายตาของคนเริ่มมีอายุจะเปลี่ยนเป็นสายตายาว พบได้เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป แต่บางคนอาจเร็วกว่าได้



                                7  บรรลุ ศิริพานิช, เรื่องเดียวกัน หน้า 42
                                8  กุลยา ตันติวาอาชีวะ, คู่มือผู้สูงอายุสุขภาพสูงวัย ดูแลได้ด้วยตัวเอง,(กรุงเทพมหานคร : เพชร
                       ประกาย, 2560), หน้า 18-41.
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33