Page 41 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 41

27



                                ระยะที่ 2 เคลิ้ม เป็นระยะเข้าสู่ภวังค์ มีโอกาสสะดุ้งตื่น หรือตกใจตื่นได้ง่ายถ้ามีสิ่งเร้า
                       ระยะนี้บางคนจะรู้สึกเหมือนครึ่งหลับ ครึ่งตื่น และมีอาการสะดุ้ง
                                ระยะที่ 3 หลับ เป็นระยะที่ร่างกายและจิตใจสงบนิ่ง การท างานของอวัยวะภายนอกการ
                       ควบคุมของจิตส านึกจะเป็นอย่างช้าๆชีพจรจะเต้นช้าลง การหายใจช้าลง แต่ยังคงสภาพความพร้อม

                       ทางสรีระโดยนัยในขณะหลับ
                                ระยะที 4 หลับสนิท เป็นระยะที่มีการหลับสมบูรณ์ ร่างกายผ่อนคลายเต็มที่ เกิดขึ้น
                       หลังจากผ่านระยะที่ 3

                                การนอนของผู้สูงอายุ
                                ช่วงเวลาและระยะเวลาการนอนหลับจะเปลี่ยนไปตามอายุ คนเราจะใช้เวลาส่วนใหญ่ของ

                       แต่ละวันไปกับการนอนหลับ เมื่อสูงอายุนิสัยการนอนก็เปลี่ยนไป บางคนเข้านอนหัวค่ าตื่นแต่เช้ามืด
                       บางคนนอนดึก แล้วตื่นเช้าธรรมดา ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีช่วงการหลับที่มีลูกตาเคลื่อนไหวมากขึ้น
                       อัตราช่วงการหลับธรรมดาจะลดลง ฉะนั้นผู้สูงอายุจึงตื่นง่ายเพราะช่วงหลับที่ลูกตาเคลื่อนไหวรวดเร็ว

                       เป็นช่วงที่คนพร้อมจะตื่นได้ แบบแผนการนอนของผู้สูงอายุจะเปลี่ยนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
                       กล่าวคือระยะชั่วโมงการนอนสั้น ตื่นง่าย หลับยาก และชอบงีบตอนกลางวัน ลักษณะการนอนหลับ
                       เช่นนี้ท าให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนมาใช้การงีบในเวลากลางวันเป็นการชดเชย
                                การส่งเสริมที่จะช่วยให้นอนหลับสบายส าหรับผู้สูงอายุมีหลายวิธี ประกอบกันตามความ
                       เหมาะสม กล่าวคือ

                                     - อาบน้ าอุ่นก่อนเข้านอน
                                     - ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆก่อนเข้านอน
                                     - ฝึกการออกก าลังกายที่ผ่อนคลายความเครียด

                                     - ไม่ควรกินยานอนหลับหรือยาระงับประสาทโดยไม่จ าเป็น
                                     - กินอาหารที่ให้แคลอรี่เพียงพอกับร่างกาย จะช่วยให้หลับได้นาน อาหารโปรตีน
                       เช่น นม ถั่วเหลือง ปลา มีส่วนช่วยท าให้หลับสบาย
                                     - ท าจิตใจให้สบายก่อนเข้านอนด้วยการสวดมนต์หรือท าสมาธิ


                                7)  การตรวจสุขภาพ
                                การตรวจสุขภาพจึงเป็นกิจกรรมส าคัญประการหนึ่งของการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของ
                       ผู้สูงอายุ โดยต้องตรวจสอบสุขภาพอย่างสม่ าเสมอทุกปี การพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายควรท าอย่าง

                       สม่ าเสมอ ตั้งแต่เริ่มย่างเข้าสู้วัยกลางคน เพราะการตรวจร่างกายท าให้เราได้รู้จักสภาพร่างกายของ
                       ตนเองมากขึ้น และยังเป็นการตรวจค้นสมุฏฐานของโรคระยะแรกได้ด้วย ท าให้สามารถป้องกัน รักษา
                       และบ าบัดได้ทันท่วงที
                                ผู้สูงอายุควรมีการตรวจร่างกายปีละ 1 ครั้ง สิ่งที่ตรวจคือ

                                     1)  การตรวจความดันโลหิต เป็นการตรวจหาความดันโลหิตสูงเบื้องต้น หรือภาวะ
                       ลุกลามของโรคความดันโลหิตสูง ปกติความดันโลหิตในวัยผู้ใหญ่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
                       ถ้าต่ ากว่านี้จะดีมากส าหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีไปแล้ว ถ้ามีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท
                       จัดได้ว่าเป็นความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้นเมื่อมีอายุ อาจพบปรากฏอาการได้น้อย
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46