Page 54 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 54

40



                                 1  สมถภาวนา การอบรมจิตใจให้สงบ ซึ่งได้แก่สมถกรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า จิตภาวนา
                                 2  วิปัสสนาภาวนา การอบรมปัญญาให้เกิด ซึ่งได้แก่วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า
                       ปัญญาภาวนา  ภาวนา สองอย่างนี้ ในบาลีที่มาท่านเรียกว่า ภาเวตัพพธรรม และ วิชชาภาคิยธรรม.
                       ในคัมภีร์สมัยหลัง บางทีเรียกว่า กรรมฐาน (อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งงานเจริญภาวนา ที่ตั้งแห่งงานท า

                       ความเพียรฝึกอบรมจิต วิธีฝึกอบรมจิต อีกนัยหนึ่งจัดเป็น 2 เหมือนกันคือ
                                     1  จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม  มีความเข้มแข็ง
                       มั่นคง เบิก-บาน สงบสุข ผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ
                                     2   ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทัน เข้าใจสิ่งทั้งหลายตาม

                       ความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบง าด้วยกิเลส และความทุกข์
                                 ภาวนา 4 หมายถึงการเจริญ,การท าให้เป็นให้มีขึ้น,การฝึกอบรม,การพัฒนา ประกอบด้วย
                                     1)  พัฒนาด้านกาย (Physical development) เรียกว่า กายภาวนา
                                     2)  พัฒนาด้านศีล (Social development) เรียกว่า ศีลภาวนา

                                     3)  พัฒนาด้านจิต (Emotional development) เรียกว่า จิตภาวนา
                                     4)  พัฒนาด้านปัญญา (Intellectual development) เรียกว่า ปัญญาภาวนา

                                     มีรายละเอียดดังนี้

                                     1  พัฒนากาย หรือพัฒนาทางกาย ในทางพระพุทธศาสนาไม่เน้นที่การท าให้ร่างกาย
                       เติบโตแข็งแรง แต่ถือว่าการกินอาหารให้ได้คุณค่า กินพอดี ด้วยความรู้จักประมาณ ให้ร่างกายอยู่

                       ผาสุก มีสุขภาพดี เป็นฐานให้การพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป
                                การมีร่างกายที่ระบบภายในต่างๆ ท างานเรียบร้อยดี ท่านเรียกว่าเป็น ปธานิยังคะ อย่าง
                       หนึ่ง คือเป็นองค์หนึ่งของสภาพชีวิตที่เหมาะแก่การใช้ความเพียรพยายามในการพัฒนาชีวิต แต่การ
                       พัฒนากายไม่ใช่แค่นั้น การพัฒนากาย ในพระพุทธศาสนาจึงเน้นไปที่การพัฒนาอินทรีย์ ในการ
                       สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ให้ใช้งานได้ดี เกิดประโยชน์สูงสุด

                       มีผลในทางส่งเสริมคุณภาพชีวิต เช่นพัฒนาการใช้ตาให้ดูเป็น พัฒนาการใช้หูให้ฟังเป็น การพัฒนา
                       ทักษะต่างๆ ในทางอาชีพ ก็รวมอยู่ในข้อนี้ด้วย แต่ที่เป็นแกนกลางก็คือการพัฒนาที่เป็นอินทรีย์นี้ จน
                       พูดได้ว่า การพัฒนากายก็คือการพัฒนาอินทรีย์

                                     2  พัฒนาศีล หรือพัฒนาทางสังคม คือการอยู่ร่วมสังคมโดยไม่เบียดเบียนกัน แต่มี
                       ชีวิตที่เกื้อกูลต่อกัน และมีวินัยได้แก่ Social development ตรงกับ ศีลภาวนา ที่ว่าเป็นการพัฒนา
                       ทางสังคมนั้น ไม่มุ่งแต่การอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดีโดยไม่เบียดเบียนกันเท่านั้น แต่มุ่งถึงการฝึกอบรมกาย
                       วาจา ให้เป็นฐานในการพัฒนาจิตต่อด้วย กล่าวคือการฝึกอบรม ให้รู้จักควบคุมตนในเรื่องกาย วาจา

                       นั้น เริ่มด้วยการไม่เบียดเบียนผู้อื่น ให้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ดี เป็นไปในทางที่เกื้อกูลต่อกันในสังคม อัน
                       นี้เป็นศีลขั้นพื้นฐาน แต่นอกเหนือจากนั้น ยังมีการศึกษาอบรมกายวาจาให้ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก
                       ความสามารถในการฝึกพฤติกรรมทางกายวาจาของตนนั้น จะเป็นฐานแก่การพัฒนาจิตใจต่อไปด้วย
                                     3  พัฒนาจิตใจ หรือพัฒนาทางอารมณ์ ก็คือเรื่องของจิตใจนั่นเอง พัฒนาด้านนี้ จึง

                       ได้แก่ (Emotional development} ตรงกับ จิตภาวนา เมื่อเรารู้จักควบคุมฝึกหัดกายและวาจาของ
                       เรา เราจะได้ฝึกฝนพัฒนาจิตใจพร้อมไปด้วย มันจะส่งผลต่อกันตามหลักปัจจัยสัมพันธ์ หมายความว่า
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59