Page 57 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 57
43
1) สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจ
คร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น
2) เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์
อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน
3) เป็นการกระท าที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้ค าแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมท าให้ผู้
สวดได้ปัญญาความรู้ แทนที่จะสวดเหมือนนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้อะไรเลย
4) มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องส ารวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิด
ท านอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น
5) เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มี
ใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์
ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง และในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุ
หนึ่งในวิมุตติ 5 ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบ
คาย ) ดังมีว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบาง
รูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่า
อื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมท าการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดย พิสดาร เธอ
ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น” ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้
ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิด
ปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิต
ย่อมตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึง ความสิ้นไป หรือ
เธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
27
2) สมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ความหมายของสมาธิ
28
“สมาธิ” ในพระอภิธรรมปิฎก ได้กล่าวไว้ว่า “สมาธิ” หมายถึง ความตั้งอยู่แห่งจิต
ความด ารงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิต
ไม่ส่ายไป ความสงบ (สมถะ) สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิ สัมโพชฌงค์ที่เป็นองค์แห่ง
มรรค นับเนื่องในมรรคอันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
29
“สมาธิ” ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคหมายถึง ภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียวฝ่ายกุศลชื่อว่า สมาธิ
“สมาธิ” ในหนังสือพุทธธรรม ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายไว้
ว่า “สมาธิ” เป็นความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่ก าหนด ค าจ ากัดความของสมาธิที่
27 วิมุตติสูตร,ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ 5 ประการ,พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม
3- หน้าที่ 40
28 อภิ.สงฺ. (ไทย) 34/15/29; อภิ.วิ (ไทย) 34/206/175
29 วิสุทธิ (ไทย) 38/134.