Page 59 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 59

45



                                2)  สมาธิระดับอุปจารสมาธิ หรือสมาธิเฉียดๆ หรือสมาธิจวนจะแน่วแน่ เป็นสมาธิ ขั้น
                                  33
                       ระงับนิวรณ์ 5  ก่อนที่เข้าสู่สภาวะแห่งฌานหรือสมาธิในบุพภาคแห่งอัปปนาสมาธิ
                                3)  สมาธิระดับอัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิระดับสูงสุด เป็นสมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท

                                จุดประสงค์ของการฝึกสมาธิ

                                สมาธิ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติจริง หากฝึกปฏิบัติจนจิตอยู่ในภาวะของความเป็น
                       อิสระปราศจากสิ่งรบกวน ปราศจากสิ่งอันชวนให้ยึดมั่นถือมั่นจิตก็จะเกิดความสงบ การ เกิดปัญญา

                       น าไปสู่ทางพ้นทุกข์ ให้สติตั้งมั่นอยู่ที่ไตรลักษณ์ พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ให้รู้เห็นความเป็น
                                                          34
                       จริง ดังจุดประสงค์จ าแนกได้เป็น 2 ทาง คือ
                                1)  สติตั้งมั่นในการพิจารณาบัญญัติเพื่อให้จิตสงบ ซึ่งเรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน มีอานิสงส์
                       ให้บรรลุฌานสมาบัติ

                                2)  สติตั้งมั่นในการพิจารณารูปนามเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง
                       อนัตตา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน มีอานิสงส์ให้บรรลุถึง มรรค ผล นิพพาน การก าหนดพิจารณา
                       ไตรลักษณ์ เพื่อให้รู้เห็นสภาพตามความเป็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายล้วนแต่เป็นรูปนามเท่านั้น และรูปนาม
                       ทั้งหลายเหล่านั้นก็มีลักษณะเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาหาได้เป็นแก่นสารยั่งยืนไม่ จะได้ก้าวล่วงเสียซึ่ง

                       ความเห็นผิดไม่ให้ติดอยู่ในความยินดียินร้าย อันเป็นการเริ่มต้นที่จะให้ถึงหนทางดับทุกข์ทั้งปวง

                                 ประโยชน์ของสมาธิ มีหลายอย่าง เช่น
                                 1)  ประโยชน์ทางด้านอภิญญา เช่น ฝึกสมาธิแล้วได้อภิญญา(ความสามารถพิเศษเหนือ
                       สามัญชน) ได้แก่ หูทิพย์ ตาทิพย์ ทายใจคนอื่นได้ แสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้ ประโยชน์ด้านนี้ไม่
                       เกี่ยวข้องกับพระศาสนาโดยตรง

                                 2)  ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายทางพุทธศาสนาแบ่งเป็น 2  ระดับ คือ
                                     (1)   ประโยชน์ระดับต้น คือฝึกสมาธิไประยะหนึ่ง จิตจะหายฟุ้งซ่าน จนถึงระดับได้
                       ฌาน สามารถใช้สมาธิที่ได้ระงับ หรือข่มกิเลสได้ชั่วคราว แค่นี้ก็เรียกได้ว่าได้ "วิมุตติ"(หลุดพ้น)ระดับ

                       หนึ่งแล้ว เรียกว่า วิกขัมภมวิมุติ (หลุดพ้นด้วยข่มไว้) ตราบใดที่ยังข่มได้อยู่ เจ้ากิเลสมันก็ไม่ฟุ้ง
                                     (2)  “ประโยชน์ระดับสูงสุด คือ สมาธิอันเป็นบาทฐานวิปัสสนาพิจารณาสภาวธรรม
                       ทั้งหลายรู้แจ้งไตรลักษณ์ ก าจัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิง พูดอีกในหนึ่งก็คือสมาธิน าไปสู่ความเป็นพระ
                       อรหันต์

                                 3)  ประโยชน์ด้านพัฒนาบุคลิกภาพ ผู้ที่ฝึกสมาธิประจ า ย่อมมีบุคลิกภาพที่พึงปรารถนา
                       หลายอย่างเช่น
                                        (1)  มีบุคลิกหนักแน่น เข้มแข็ง
                                        (2)  มีความสงบเยือกเย็น ไม่ฉุนเฉียวเกรี้ยวโกรธ

                                        (3)  มีความสุภาพ นิ่มนวล ท่าทีมีเมตตากรุณา
                                        (4)  สดใส สดชื่น เบิกบาน


                                33  วิสุทธิ.(ไทย) 1/107,160,175,187; วินย.อ(ไทย).1/523.
                                34  ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร), ผู้รวบรวม, คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉท
                       ที่ 7 สมุจจยสังคหวิภาค, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อ าพลพิทยา, 2506), หน้า 41.
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64