Page 55 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 55
41
ภาวนา 4 ด้านนี้ จะต้องโยงเป็นระบบเดียวกัน การพัฒนาจิตใจก็ต้องโยงว่า เมื่อพัฒนาจิตใจดี ก็ส่งผล
ดีออกมาต่อร่างกาย เช่น ใจไม่โกรธไม่เครียด ช่วยให้มีสุขภาพดีและมีผลในการสัมพันธ์หรือในการอยู่
ร่วมสังคมด้วย ท าให้การสัมพันธ์กับโลก และสภาพแวดล้อมภายนอกพลอยดีไปด้วย และการพัฒนา
จิตใจนั้น เช่น เมื่อมีสมาธิ ใจไม่ว้าวุ่นสับสน ก็เป็นฐานให้แก่การพัฒนาปัญญาต่อไป
4 พัฒนาปัญญา หรือพัฒนาการทางปัญญา ได้แก่ Intellectual development
ตรงกับ ปัญญาภาวนาเมื่อพัฒนาปัญญาดีแล้ว ก็ท าให้จิตใจเป็นอิสระ เพราะรู้ว่าจะท าจะปฏิบัติต่อ
อะไรอย่างไร แก้ไขข้อติดขัดขจัดปัญหา หายอึดอัดหลุดโล่งไปได้ ตลอดจนรู้เท่าทันชีวิตและโลกตาม
เป็นจริง รู้เท่าทันเหตุปัจจัย มีอะไรเกิดขึ้นก็รู้จักมองตามเหตุปัจจัย ก็ไม่มีอะไร มาบีบคั้นตัว อย่างน้อย
ก็ไม่ค่อยมีการกระทบกระแทก เพราะท าตามปัญญา ไม่ใช่ท าตามใจอยาก
ปัญญาในพระพุทธศาสนา มีอยู่หลายขั้น เริ่มตั้งแต่การรู้จักรับรู้ประสบการณ์ให้ตรงตาม
เป็นจริง การคิดตามเป็นจริงโดยไม่ถูกครอบง าด้วยอคติ หรือโลภะ โทสะ โมหะ จนถึงความรู้ความ
เข้าใจโลกและชีวิตตามเป็นจริง ที่ท าให้มีจิตใจเป็นอิสระ ด้วยเหตุนี้ ปัญญาภาวนาอาจจะต้องใช้ค าว่า
(wisdom development)
ภาวนา 4 นี้เป็นหลักส าคัญอีกชุดหนึ่ง ภาวนาหรือพัฒนานี่ แสดงถึงหนทางในการพัฒนา
19
คน เมื่อพูดแยกเป็นแง่ด้านต่างๆ แล้ว ก็ต้องเอามาโยงเข้าด้วยกันให้เป็นภาพรวมอันหนึ่งอันเดียวกัน
2.7 คุณประโยชน์ของการสวดมนต์และการฝึกสมาธิ
การสวดมนต์และการปฏิบัติสมาธินอกจากจะสร้างความเจริญทางธรรมให้แก่ ผู้ปฎิบัติ
แล้ว ยังมีการศึกษาค้นคว้าศึกษาวิจัยอีกมากมายที่แสดงถึงผลดีที่มีต่อสุขภาพกายและจิตใจ อาทิเช่น
ช่วยพัฒนาสุขภาพจิตและบุคลิกภาพ ช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับสบาย ท า
ให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง หายจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง เป็น
ต้น ผู้ป่วยสามารถลดการใช้ยาลงหรือ สามารถหยุดยาได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ดูแลสุขภาพทางกายและ
จิตใจของผู้สูงอายุในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี การสวดมนต์และการปฏิบัติสมาธิสามารถน ามาใช้ในการ
ดูแลสุขภาพได้ทั้ง รักษา ป้องกัน ฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพ ผู้ปฏิบัติใช้เวลาเพียงวันละ 15 นาทีโดย
20
ปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจ าวัน สุขภาพของท่านก็จะดีขึ้น ทั้งทางกายและทางจิตใจ
1) การสวดมนต์ คือการสวดบทพุทธมนต์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของพระสูตรก็มี เป็นส่วน
ของพระปรติรก็มี ที่เป็นส่วนเฉพาะคาถาอันนิยมก าหนดให้น ามาสวดประกอบในการสวดมนต์เป็น
19 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต) ตัดทอน จากหนังสือเรื่อง “รุ่งอรุณของการศึกษา เบิก
ฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน”พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 12 พ.ศ.2546. [ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561 เข้าถึงได้จาก http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=37
20 นพ.ปภัสสร เจียมบุญศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกสวด
มนต์และสมาธิบ าบัดเพื่อการรักษาโรค กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก / กองทุนภูมิปัญญา
การแพทย์แผนไทย พิมพ์ครั้งที่ ๑ บริษัท วี อินดี้ ดีไซน์ จ ากัด,ความน าเสนอ.