Page 50 - รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
P. 50
36
3) สติ (mindfulness) คือ ความระลึกได้ ความไม่เผลอ การคุมใจไว้ได้
4) สมาธิ (concentration) คือ ความตั้งจิตมั่น การท าใจให้สงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน การมี
จิตก าหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ในขณะท างานสิ่งใดก็มีใจจดจ่ออยู่กับงานนั้น ๆ ไม่มี
วอกแวกไปคิดเรื่องอื่น
5) ปั ญ ญ า (wisdom; understanding) คือ ความ รู้ ค วามเฉลี ยวฉล าด มี
17
ประสบการณ์ มีวิจารณญาณที่ดี มีความสามารถเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ และมีการตัดสินใจที่ดี
ถ้าเราปฏิบัติธรรม พละ 5 นี้แล้ว เราจะมีบุคลิกภาพที่เชื่อมั่นในตนเอง เป็นผู้มีก าลังใจดี มี
ความเพียรพยายามสูง มีสติรู้ตัวอยู่เสมอ มีสมาธิในการท างานดี และมีสติปัญญาดี จะท าการสิ่งใด
ย่อมประสบความส าเร็จดังใจปรารถนาเสมอ
สิ่งหนึ่งที่ท าให้คนเราไม่สามารถด าเนินชีวิตได้ด้วยความมั่นใจ สิ่งนั้นคือ ความวิตกกังวล
คนเรามีความกลัวหลายอย่าง เช่น กลัวเสียเงิน กลัวเสียชื่อเสียง กลัวเสียของรัก กลัวการเจ็บป่วย
กลัวอุบัติเหตุ กลัวตาย ถ้าเราตัดความวิตกกังวลเหล่านี้ไปได้ จิตใจของเราก็เบาสบาย และด าเนิน
ชีวิตประจ าวันได้อย่างมั่นใจ ไม่หวาดหวั่นต่อภัยอันตรายต่างๆ
2 อิทธิบาท 4 และแนวทางปฏิบัติ
อิทธิบาท 4 หมายถึง หลักธรรม 4 ประการ ส าหรับการท างานหรือท าสิ่งใดๆ เพื่อให้งาน
ประสบความส าเร็จตามที่มุ่งหวังไว้ ซึ่งประกอบด้วย “อิทธิบาท” มาจากค าว่า– อิทธิ หมายถึง
ความส าเร็จ บาท หมายถึง วิถีทางที่จะน าไปสู่
ดังนั้น ค าว่า “อิทธิบาท” หากแปลตามค าจึงหมายความว่า วิถีทาง หรือ หลักการ ที่จะ
น าไปสู่จุดหมายปลายทาง หรือไปสู่ความส าเร็จได้ ซึ่งมี 4 ประการ หรือเรียกว่า อิทธิบาท 4 ได้แก่
1) ฉันทะ (aspiration) ฉันทะ แห่งอิทธิบาท 4 คือ ความพอใจ รักใคร่ เต็มใจ และฝักใฝ่
ในงานอยู่เสมอ ทุ่มเทความสามารถ และปรารถนาเพื่อที่จะท างานนั้นให้ดีที่สุด ด้วยการรักในงานของ
ตน ชอบในงานของตน งานในที่นี้หมายถึง สิ่งที่เราท า ผู้ใดมีงานอะไรแล้วมีความรักใคร่พอใจในงาน
นั้น เรียกว่า มีฉันทะ คนที่ขาดฉันทะ ไม่พอใจในงานของตน มักจะท างานด้วยความเหน็ดเหนื่อยใจ
และชอบทิ้งงานให้จับจดและคั่งค้าง
ความอยากหรือความฝักใฝ่ที่เกิดจากฉันทะนี้ มิได้มีความหมายเหมือนกับความอยากได้
เพื่อให้ได้มาซึ่งการเสพเสวยแก่ตนในทุกสิ่งทุกอย่าง หรือที่เรียกว่า ตัณหา เพราะความอยากที่เกิดจาก
ฉันทะนั้น เป็นความอยากในทางสุจริตที่ต้องมีการทุ่มเทก าลังกาย และก าลังใจเพื่อให้สิ่งนั้นส าเร็จตาม
ความมุ่งหมาย ภายใต้พื้นฐานของคุณธรรม และความดี
องค์ประกอบของฉันทะ
(1) ความยินดีในสิ่งที่ท า นั้นๆ
(2) ความพอใจในสิ่งที่ท า นั้นๆ
(3) ความเต็มใจในขณะที่ท าสิ่งนั้นๆ
(4) ความมีใจรักในขณะที่ท าสิ่งนั้นๆ
17 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้ง
ที่ 11, (กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546), หน้า 156 -187.