Page 78 - Sutthikan
P. 78
71
สภาพทางสังคม กรรมพันธุ์ และปัจจัยต่างๆ ทางจิตวิทยามีส่วนท าให้มีการบริโภค
อาหารที่มากเกิน และท าให้อ้วน พบว่า โรคอ้วนที่มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์และความผิดปกติ
ทางร่างกายเกิดขึ้นน้อยมาก แม้ว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลที่ท าให้เกิดโรคอ้วน และน ้าหนักตัวเกิน
ก็ตาม การใช้ชีวิตประจ าวันที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ที่ไม่ถูกต้อง ท าให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย
รูปแบบการบริโภคอาหารช่วงเริ่มแรก
ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า พฤติกรรมการบริโภค
อาหารนั้นเริ่มต้นตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก และส่งผลมาถึงวัยผู้ใหญ่ด้วย เด็กที่ไม่ค่อยออก
ก าลังกายและมีนิสัยบริโภคอาหารที่มากเกินจะมีพฤติกรรมนี้ติดตัวมาจนถึงวัยผู้ใหญ่ และ
กลายเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนแรงผลักดันที่เกินจากสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อรูปแบบการ
บริโภคอาหารมากกว่าแรงผลักดันที่เกิดในร่างกาย เช่น ความหิว เป็นต้น การเลี้ยงทารก
ด้วยขวดนม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้ทารกอ้วนมากกว่าการเลี้ยงด้วยนมแม่ถึง 3 เท่า ทารกที่
ถูกเลี้ยงด้วยขวดนม มีโอกาสที่จะเกิดความกังวลในตัวเองสูง และอาจถูกกระตุ้นให้เกิด
พฤติกรรมการบริโภคเกินต่อไปในอนาคตได้ การเลี้ยงด้วยนมแม่ทารกจะมีการเรียนรู้ด้วย
การหยุดดูดนม เนื่องจากคุณค่าของสารอาหารที่มีอยู่ในน ้านมแม่มีมากเกินพอที่ไม่
จ าเป็นต้องบริโภคในปริมาณมาก ซึ่งต่างจากการเลี้ยงด้วยนมขวดที่ไม่สามารถทดแทน
น ้านมแม่ได้ ทารกจะกินเพราะเกิดความหิว ที่ท าให้มีแคลอรีเพิ่มมากเกินปัญหาที่ส าคัญอีก
ประการหนึ่งคือ การให้อาหารแก่ทารกในช่วงเริ่มต้น ที่อาจท าให้เกิดการสร้างเซลล์ไขมัน
ในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้เสนอแนะว่า พ่อแม่ควรเริ่มให้อาการแก่
ทารกเมื่อมีอายุได้ประมาณ 5 เดือนขึ้นไป มากกว่าที่จะให้อาหารทารกก่อนวัย 5 เดือนการ
เลี้ยงดูเด็กที่ให้ความส าคัญในการบริโภคอาหารที่มากเกิน การให้รางวัลเด็กในรูปขนม
หวานโดยเฉพาะเด็กที่อ้วน จะสร้างปัญหาต่อตัวเด็กมากขึ้น มีผลกระทบต่ออนาคตของเด็ก
ที่อายุชัยจะสั้นลง และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจ มีพฤติกรรมการกินอาหารไม่ถูกต้อง
ร่างกายมีการสร้างเซลล์ไขมันเพิ่มมากขึ้น มีมวลกล้ามเนื้อน้อย ในวัยนี้เด็กที่มีมวล
กล้ามเนื้อที่มากกว่าจีพลังในการท ากิจกรรมที่มากกว่า มีชีวิตที่ดีกว่า และเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ที่มีสุขภาพที่ดีในภายภาคหน้า