Page 53 - คู่มือหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต สาขาการบริหารโครงการสารสนเทศ (Project Management)
P. 53

โครงการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์

                        มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
                                                         สาขาการบริหารโครงการสารสนเทศ (Project Management)



                                 4.  กลุ่มขั้นตอนการควบคุม (Controlling Process) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความ

                       มั่นใจว่า ทีมงานของโครงการสามารถด าเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ในระหว่างขั้นตอน
                       นี้ ผู้จัดการโครงการและทีมงานจะคอยตรวจตราดูแล และเปรียบเทียบความก้าวหน้าของโครงการ

                       ที่เกิดขึ้นจริงกับแผนของโครงการที่ได้วางไว้ เพื่อที่จะสามารถท าการปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่จ าเป็น
                       ได้อย่างทันท่วงที กิจกรรมที่ส าคัญ และมักเกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนนี้ ได้แก่ การตรวจสอบผล

                       การปฏิบัติงาน (Performance review) ซึ่งจะแสดงให้ทราบว่ามีสิ่งใดบ้างที่จะต้องท าการปรับเปลี่ยน

                       หรือแก้ไข และใครจะเป็นผู้ที่จะมารับผิดชอบในการวิเคราะห์ และบริหารการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ
                                 5.  กลุ่มขั้นตอนการสิ้นสุด (Closing Process) ประกอบด้วยการส่งมอบ และการรับ

                       มอบโครงการอย่างถูกต้องสมบูรณ์ และการปิดโครงการอย่างมีประสิทธิผล กิจกรรมที่ส าคัญใน

                       ขั้นตอนนี้ ได้แก่ การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ การจัดท าเอกสารเกี่ยวกับประสบการณ์ และ
                       บทเรียนที่ได้รับจากการด าเนินโครงการ และการได้รับเอกสารหลักฐานการรับมอบงานอย่างเป็น

                       ทางการจากลูกค้า


                       การบริหารโครงการสารสนเทศเชิงบูรณาการ

                              แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ทันสมัยในปัจจุบัน มักจะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่
                       ค านึงถึงการน าวิธีการ และปัจจัยที่ส าคัญและจ าเป็นในการบริหารจัดการ มาใช้ประกอบไปพร้อม ๆ

                       กัน หรือ ที่เรียกว่าการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มี

                       ประสิทธิภาพจึงควรกระท าในเชิงบูรณาการเช่นกัน ซึ่งถ้าจะกล่าวให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจงลงไป
                       แล้ว จะเห็นได้ว่าการบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงบูรณาการ คือ การน าองค์ความรู้

                       ในทุก ๆ ด้านเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ (คือ ความรู้ทางด้านขอบเขตงาน เวลา ต้นทุน
                       คุณภาพ ทรัพยากรบุคคล การติดต่อสื่อสาร ความเสี่ยง และการจัดหาทรัพยากรภายนอก เป็นต้น)

                       มาใช้ร่วมกันตลอดวงจรชีวิตของโครงการ การบูรณาการในลักษณะนี้จะมีผลท าให้ส่วนประกอบของ

                       โครงการทั้งหมดถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้โครงการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ลงอย่าง
                       แท้จริง ในการบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงบูรณาการโดยทั่วไปจะประกอบด้วย 3

                       ขั้นตอนใหญ่ๆ ต่อไปนี้

                                 1.  การพัฒนาแผนโครงการ (Project plan development) ซึ่งได้แก่ การรวบรวม
                       ผลลัพธ์ของขั้นตอนการวางแผนต่าง ๆ ที่ผ่านมา และแล้วเสร็จแล้วมาก าหนดและเขียนเป็นลาย

                       ลักษณ์อักษรอย่างเป็นเหตุเป็นผลและเชื่อถือได้หรือที่เรียกว่า แผนโครงการ (Project plan)

                                 2.  การจัดการแผนโครงการ (Project plan execution) เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
                       ตามแผนโครงการผ่านการด าเนินกิจกรรมที่ได้ก าหนดไว้ตามแผน







                       รายงานโครงการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์     หน้า 51
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58