Page 152 - วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการ
P. 152
142
แล้วเกิดเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว หลักการนี้เป็น อุตสาหกรรมการผลิต
เนยเทียมและครีมเทียม
6. เกิดไฮโดรไลซิสในสารละลายเบสให้สบ (เกลือของกรดไขมัน)
กับกลีเซอรอล เรียก ปฏิกิริยานี้ว่า “สะปอนนิฟิเคชัน”
5. สำรอำหำรที่ไม่ให้พลังงำน
5.1 วิตำมิน (Vitamin)
วิตามิน เป็นสารอาหารประเภทสารอินทรีย์ที่ไม่ให้พลังงาน แต่
ช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพ แข็งแรงสามารถดํารงชีวิตอย่างปกติได้ พืช
สามารถผลิตวิตามินได้เกือบทุกชนิด (ยกเว้น B จะไม่พบ ในพืช) แต่สัตว์
ไม่สามารถผลิตได้ (ยกเว้นวิตามิน D ซึ่งผลิตที่ผิวหนัง) วิตามินบางอย่างมี
หน้าที่โดยตรง หรืออาจรวมตัวกับเอนไซม์ที่เรียกว่าโคเอนไซม์ (Co-
Enzyme) ควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) ในร่างกาย
ให้ดําเนินไปอย่างปกติ
การละลายของวิตามิน
1) วิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat Soluble Vitamin) หรือสารอื่นที่
ไม่ใช่นํ้า ได้แก่ วิตามิน เอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค วิตามินเหล่านี้
เมื่อรับมาก ๆ จะเกิดการสะสมในร่างกายได้
2) วิตามินที่ละลายในนํ้า (Water Soluble Vitamin) ได้แก่ วิตามิน
บี วิตามินซี วิตามินเอฟ วิตามินเหล่านี้ไม่สะสมในร่างกาย ในแต่ละวัน
ร่างกายต้องการวิตามินชนิดที่ละลายในนํ้าในปริมาณ มาก เพราะร่างกาย