Page 29 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 29

ผิวหนังมีสีน้ำตาล  เนื้อมีสีเหลือง  ประเทศไทยมีพันธุ์ปลาดุกอยู่

            จำนวน 5 ชนิด แต่ที่เป็นที่รู้จักทั่วๆ ไปคือ ปลาดุกอุยและปลาดุก
            ด้าน ในอดีตทั้งปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน มีการเพาะเลี้ยงกันอย่าง

            แพร่หลาย ต่อมาเกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งเข้ามาเลี้ยงใน
            ประเทศไทย เป็นปลาตระกูล แคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มี

            ถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา  มีชื่อว่า  Clarias  gariepinus  African
            sharptooth catfish เป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก สามารถ

            กินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูง
         คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
            มีขนาดใหญ่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และ

            มีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ
                      สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด  ได้ทำการเพาะ

            ขยายพันธุ์ปลาโดยการผสมพันธุ์ปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ ผลปรากฏ
            ว่าการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมียผสมกับปลาดุกเทศ

            เพศผู้ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ดี ลูกที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโต
            รวดเร็ว  ทนทานต่อโรคสูง มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย กรม

            ประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุยเทศ แต่โดยทั่วๆ ไป ชาวบ้านเรียกกันว่า
            บิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายของ

            เกษตรกร
                       การอนุบาลลูกปลา

                      ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ จะใช้อาหารในถุงไข่
            แดงที่ติดมากับตัว  เมื่อถุงไข่แดงที่ติดมากับลูกปลายุบ  ให้นำไข่ไก่

            ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากิน 1 - 2
            ครั้ง หลังจากนั้น จึงให้ลูกไรแดงเป็นอาหาร เมื่อลูกปลาอายุครบ

            2  วัน  สามารถขนย้ายได้ด้วยความระมัดระวัง  โดยใช้สายยางดูด

            แล้วบรรจุในถุงพลาสติกขนาด 18 นิ้ว ไม่ควรเกิน 10,000 ตัวต่อถุง
     22
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34