Page 31 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 31

ปล่อยในอัตรา 300 - 500 ตัว/ตรม. การอนุบาลลูกปลาให้เติบโตได้

            ขนาด 3 - 4 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 14 วัน แต่การอนุบาล
            ลูกปลาดุกในบ่อดินนั้น สามารถควบคุมอัตราการเจริญเติบโตและ

            อัตรารอดได้ยากกว่าการอนุบาลในบ่อซีเมนต์
                       ปัญหาในการอนุบาลลูกปลา น้ำเสียเกิดขึ้นจากการให้

            อาหารลูกปลามากเกินไป หากลูกปลาป่วยให้ลดปริมาณอาหารลง
            30 - 50% ดูดตะกอนถ่ายน้ำแล้วค่อยๆ เติมน้ำใหม่ หลังจากนั้นใช้

            ยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าซัยคลิน แช่ลูกปลาในอัตรา 10 - 20 กรัม
         คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
            ต่อนำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือในไตรฟุราโชน 5 - 10 กรัม ต่อน้ำ 1

            ลูกบาศก์เมตร วันต่อๆ มาใช้ยา 3/4 เท่า ปลาจะลดจำนวนการตาย
            ภายใน 2 - 3 วัน ถ้าปลาตายเพิ่มขึ้น ควรกำจัดลูกปลาทิ้งไป เพื่อป้อง

            กินการติดเชื้อไปยังบ่ออื่นๆ


                      ขั้นตอนการเลี้ยง
                       1.  อัตราปล่อยปลาดุกลูกผสม ( บิ๊กอุย ) ลูกปลาขนาด

            2 - 3 ซม. ควรปล่อยในอัตราประมาณ 40 - 100 ตัว/ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่
            กับกรรมวิธีในการเลี้ยง คือ ชนิดของอาการขนาดของบ่อและระบบ

            การเปลี่ยนถ่ายน้ำ ซึ่งปกติทั่วๆ ไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50
            ตัว/ตรม. และเพื่อป้องกันโรคซื่งอาจจะติดมากับลูกปลา ใช้น้ำยา

            ฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน
            ( 3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน ) ่ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร

            ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
                       2.  การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดิน

            แล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก ( 2 - 3 ซม. ) ควรให้

            อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง
     24
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36