Page 35 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 35

สูบน้ำเข้าไปเก็บไว้ในบ่อตกตะกอน ก่อนที่จะปล่อยออกไปสู่แหล่งน้ำ

            สาธารณะ ดังนั้นน้ำที่ระบายออกจากบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามโดยตรงจะ
            มีสีเข้มจัดมาก ในกรณีที่คุณภาพน้ำภายนอกไม่ดีหรือมีการระบาด

            ของโรคกุ้งก้ามกรามจากบริเวณข้างเคียง การสูบน้ำโดยตรงเข้าไปใน
            บ่อเลี้ยงมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่กุ้งในบ่อ อาจจะมีปัญหาได้ หรือใน

            กรณีที่คลองชลประทานหยุดการส่งน้ำเป็นบางช่วงบางเวลา เกษตรกร
            จะใช้วิธีสูบน้ำจากคลองชลประทานที่ยังหลงเหลืออยู่บางส่วน น้ำที่มี

            อยู่ในคลองชลประทานในปริมาณที่น้อยจะมีการหมักหมมของเชื้อโรค
         คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
            หรือสิ่งต่างๆ  ที่เมื่อสูบเข้าไปในบ่อเลี้ยงกุ้งจะทำให้กุ้งมีปัญหาได้

            เช่นเดียวกัน
                       2.  ไม่มีเครื่องให้อากาศ  การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของ

            เกษตรกรใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงแต่ละครั้งนานมากประมาณ 8 - 10
            เดือน คือมีการปล่อยลูกกุ้งเป็นจำนวนมากแล้วทยอยจับกุ้งที่มีขนาด

            โตบางส่วนออกไป และปล่อยลูกกุ้งเสริมไปอีกเรื่อยๆ การเลี้ยงที่ต้อง
            ใช้ระยะเวลานานมากโดยไม่มีเครื่องให้อากาศ ในที่สุดพื้นบ่อจะเกิด

            การเน่าเสียเนื่องจากปริมาณของเสียที่สะสมอยู่ที่พื้นบ่อ และจากการ
            ที่ไม่มีเครื่องให้อากาศ จะทำให้ออกซิเจนที่ละลายในน้ำในบริเวณ

            พื้นบ่อมีไม่เพียงพอ จะเห็นได้ว่าปัญหากุ้งป่วยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตาม
            ระยะเวลาของการเลี้ยง เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามต้องมีการให้

            อาหารวันละ 2 - 3 มื้อ ของเสียที่สะสมในในบ่อ ปริมาณอาหารที่
            หลงเหลือ และสิ่งขับถ่ายจะเกิดการเน่าเสียอยู่ที่พื้นบ่อ กุ้งก้ามกราม

            เป็นกุ้งที่อาศัยอยู่พื้นบ่อตลอดเวลา  เมื่อพื้นบ่อสกปรกเน่าเสียจะ
            ทำให้กุ้งอ่อนแอและป่วยในที่สุด ในกรณีที่พื้นบ่อสกปรกแต่ไม่ถึงกับ

            ทำให้กุ้งป่วยเป็นโรคตาย  แต่จะมีผลทำให้การเจริญเติบโตของกุ้ง

            ช้ากว่าปกติ ตัวกุ้งจะไม่สะอาด คุณภาพไม่ดี ราคาก็จะลดลงตามมาด้วย
     28
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40