Page 38 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 38
( inbreeding ) โดยเฉพาะกุ้งเพศเมียจะมีขนาดเล็กลงมาก ในขณะที่
กุ้งเพศผู้ส่วนใหญ่จะมีก้ามใหญ่มาก ส่วนของลำตัวมีขนาดเล็กแต่ใน
ความเป็นจริงตลาดต้องการกุ้งเพศผู้ที่มีก้ามขนาดเล็กหรือที่เกษตรกร
นิยมเรียกกันว่า “ก้ามทอง” ซึ่งในแต่ละรุ่นที่เลี้ยงจะมีปริมาณ 20 - 25
เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น เนื่องจากจะเป็นกุ้งเพศเมียประมาณ 50
เปอร์เซ็นต์ และจะเป็นกุ้งเพศผู้ก้ามโตหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ก้าม
ลาก” 25 - 30 เปอร์เซ็นต์และเป็นกุ้งก้ามทอง 20 - 25 เปอร์เซ็นต์
ดังนั้นผลตอบแทนที่ได้จะต่ำเนื่องจากกุ้งเพศเมียที่ตัวเล็ก ราคาจะ
ต่ำมากและผลผลิตโดยรวมค่อนข้างต่ำและใช้ระยะเวลานานมากต่อ
การเลี้ยงแต่ละรอบ
6. ปัญหายาตกค้าง เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
ของเกษตรกรมีการปล่อยกุ้งอย่างหนาแน่นมากตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
เมื่อเลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งจนกุ้งบางส่วนมีขนาดใหญ่พอที่จะขายได้
เกษตรกรจะใช้อวนลากกุ้งที่มีขนาดใหญ่ออกมาขายก่อน ส่วนกุ้ง
ที่มีขนาดเล็กจะเลี้ยงต่อไปอีกจนกุ้งมีขนาดโตขึ้นจึงจะใช้อวนลาก
ออกไปอีก ในการลากอวนแต่ละครั้งทำให้ตะกอนของเสียบริเวณ คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
พื้นบ่อเกิดการฟุ้งกระจายขึ้นมา จะทำให้คุณภาพน้ำบริเวณพื้นบ่อ
มีของเสียก๊าซพิษจำนวนมาก หลังจากนั้นอีกไม่กี่วันกุ้งที่เหลือในบ่อ
เริ่มมีปัญหาป่วยเป็นโรคทยอยตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปัญหาที่กล่าว
มานี้ เกษตรกรแก้ปัญหาโดยผสมยาปฏิชีวนะในอาหารให้กุ้งกิน 2 - 3
วัน ก่อนจะใช้อวนลากเอากุ้งบางส่วนไปขาย เพื่อป้องกันกุ้งที่เหลือใน
บ่อป่วย ซึ่งทำให้กุ้งที่จับไปขายมียาตกค้างในระดับที่สูงมาก เพราะ
เพิ่งให้กินยาในขณะที่จับขาย กุ้งเหล่านี้จึงมีปัญหาต่อการส่งออก เมื่อ
ห้องเย็นตรวจพบว่ามีปริมาณยาตกค้างที่สูงมากจะไม่สามารถส่งออก
ไปขายยังต่างประเทศได้
31