Page 37 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 37

3.  ปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่น ที่ผ่านมาเกษตรกรจะมี

            การปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นประมาณ 100,000 ตัว/ไร่ เผื่อจะมี
            ลูกกุ้งบางส่วนตายและส่วนที่เหลือจะได้มีปริมาณลูกกุ้งพอเพียง ใน

            ระหว่างการเลี้ยงจะมีการทยอยจับกุ้งที่มีขนาดโตบางส่วนออกมาเรื่อยๆ
                       4.  ผลิตอาหารเอง  คุณภาพไม่แน่นอน  เนื่องจาก

            เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่จะทำอาหารกุ้งใช้เอง โดยซื้อวัตถุดิบ
            มาผสม หลังจากการผลิตอาหารเสร็จแล้วจะตากอาหารให้แห้งตาม

            ลานบ้านหรือบนถนน ทำให้คุณภาพของอาหารไม่ดีเท่าที่ควร โดย
         คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
            เฉพาะวัตถุดิบที่ซื้อมาผสมบางครั้งสดแต่บางครั้งไม่สด ทำให้คุณภาพ

            ไม่แน่นอนและอาจไม่ได้มาตรฐาน  อีกทั้งการนำอาหารมาตาก
            ข้างถนนเพื่อให้อาหารแห้งในบางฤดูกาลมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง

            โอกาสที่อาหารไม่แห้งสนิท มีความชื้นค่อนข้างจะสูง ทำให้เกิดเชื้อรา
            บนอาหารขึ้นในที่สุด อาจจะเป็นอันตรายต่อกุ้งได้ การผลิตอาหาร

            ใช้เองเป็นการลดต้นทุนของเกษตรกร แม้ว่าจะเป็นการลดต้นทุนก็จริง
            แต่คุณภาพที่เกษตรกรทำเองไม่มีคุณภาพแน่นอน บางครั้งวัตถุดิบ

            ไม่สดหรือคุณภาพไม่ดี กุ้งอาจจะไม่กินหรือกินน้อยลง ดังนั้นอาหาร
            ที่ให้กับกุ้งในบ่อก็จะเหลือมาก  มีผลทำให้คุณภาพน้ำเสียได้ง่าย

            และในที่สุดจะมีผลต่อสภาพพื้นบ่อ ส่งผลทำให้กุ้งมีโอกาสเป็นโรค
            สูงขึ้นด้วย

                       5.  สายพันธุ์ดั้งเดิม กุ้งก้ามกรามที่เกษตรกรเลี้ยงอยู่ใน
            ขณะนี้ส่วนมากเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมเลี้ยงกันมาเป็นเวลาช้านาน โดย

            ไม่มีการปรับปรุงคุณภาพพ่อแม่พันธุ์ ส่วนมากจะใช้กุ้งในบ่อเลี้ยงบาง
            ส่วนที่มีลักษณะที่ดี เช่น มีขนาดโตมาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ หลังจากการ

            เลี้ยงมาหลายปีจะเห็นได้ว่าขนาดของกุ้งก้ามกรามเล็กลง ซึ่งน่าจะมี

            สาเหตุมาจากผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาเลือดชิด
     30
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42