Page 32 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 32
หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโต
ขึ้นความยาวประมาณ 5 - 7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ หลัง
จากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจนมีความยาว 15 ซม.ขึ้นไป จะให้อาหารเม็ด
เพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่างๆ ได้ เช่น ปลาเป็ดผสมรำ
ละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบด
จากส่วนผสมต่างๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษ
เลือดหมู เลือดไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารเท่าที่สามารถหาได้นำมา
บดรวมกันแล้วผสมให้ปลากิน แต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวัง
เรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 3 - 4
เดือน ปลาจะมีขนาดประมาณ 200 - 400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะ
ประมาณ 10 - 14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40 - 70%
3. การถ่ายเทน้ำ เมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ ๆ ระดับ
ความลึกของน้ำในบ่อควรมีค่าประมาณ 30 - 40 ซม. เมื่อลูกปลา
เจริญเติบโตขึ้นในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 - 60 ซม.
หลังจากย่างเข้าเดือนที่ 2 ควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 ชม./อาทิตย์
จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 - 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่ม คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
ตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20%
ของน้ำในบ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำ
มากกว่าปกติ
4. การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะ
เกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ชึ่งอาจเกิดจากสาเหตุ
ของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถ
ป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาหยุดกินอาหาร
จะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกิน
อาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคาย
25