Page 30 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 30
หากขนส่งเกิน 8 ชั่วโมง ให้ลดจำนวนลูกปลาลง
การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถดูแลรักษา
ได้ง่ายขนาดของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาดประมาณ 2 - 5 ตารางเมตร
ระดับความลึกของน้ำทีใช้บ่ออนุบาลลึกประมาณ 15 - 30 เซนติเมตร
การอนุบาลลูกปลาดุกที่มีขนาดเล็ก ( อายุ 3 วัน ) ระยะแรกควรใส่น้ำ
ในบ่ออนุบาลลึกประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร เมื่อลูกปลามีขนาด
ใหญ่ขึ้นจึงค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น การอนุบาลให้ลูกปลาดุกมี
ขนาด 2 - 3 เซนติเมตร จะใช้เวลาประมาณ 10 - 14 วัน น้ำที่ใช้ใน
การอนุบาลจะต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน เพื่อเร่งให้ลูกปลาดุกกินอาหาร
และมีการเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการป้องกันการเน่าเสียของน้ำด้วย
การอนุบาลลูกปลาดุกจะปล่อยในอัตรา 3,000 - 5,000 ตัว/ตรม.
อาหารที่ใช้คือ ไรแดงเป็นหลัก ในบางครั้งอาจให้อาหารเสริมบ้าง เช่น
ไข่ตุ๋นบดละเอียด เต้าหู้อ่อนบดละเอียด หรืออาจให้อาหารเร่งการ
เจริญเติบโต ซึ่งหากให้อาหารเสริมจะต้องระวังเกี่ยวกับการย่อยของ
ลูกปลาและการเน่าเสียของน้ำในบ่ออนุบาลให้ดีด้วย
การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดิน บ่อดินที่ใช้อนุบาล คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
ลูกปลาดุกควรมีขนาด 200 - 800 ตรม. บ่อดินที่จะใช้อนุบาลจะต้อง
มีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นก้นบ่อควรเรียบ สะอาด
ปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่างๆ ควรมีร่องขนาดกว้างประมาณ 0.5 - 1
เมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ และลึกจากระดับพื้นก้นบ่อประมาณ
20 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลา และตรงปลาย
ร่องควรมีแอ่งลึก มีพื้นที่ประมาณ 2 - 4 ตรม. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม
ลูกปลา การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อจะต้องเตรียมอาหารสำหรับ
ลูกปลา โดยการเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นอาหารให้แก่ลูกปลา
ก่อนที่จะปล่อยลูกปลาดุกลงอนุบาลในบ่อ การอนุบาลในบ่อดินจะ
23