Page 161 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 161

141




                                      ปัญหาและอุปสรรค  การประชาสัมพันธ์ในระยะเริ่มต้นอาจยังไม่ครอบคลุม
                     ทั่วถึง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดความสงสัยในการดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่าน

                     ระหว่างหลักเกณฑ์ คือ ว17 และว 21/2560 และหลักเกณฑ์ PA ใหม่ การเตรียมความพร้อมและการ
                     ส่งยื่นขอรับการประเมินและใช้ปีงบประมาณในการกำหนดส่ง  ยื่นขอแต่หลักการ Performance

                     Agreement : PA  ใช้คุณสมบัติและปีงบประมาณเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติงานและการประเมิน

                     ด้านหลักเกณฑ์การประเมินมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้มีความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร
                     หลักฐานรองรับการประเมิน ควรให้การสนับสนุนงบประมาณและจัดหาวิทยากรผู้มีประสบการณ์ ความรู้

                     ความสามารถ ในการขับเคลื่อนนโยบาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ

                     ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว PA)
                                   1.5 การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent

                     Center) และศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of

                     Vocational Manpower Networking Management : CVM)
                                      ผลของการดำเนินงานตามนโยบาย สถานศึกษามีการจัดกลุ่มการเรียน

                     จำแนกตามสาขาวิชาที่เปิดสอน คัดเลือกสถานศึกษากลุ่มความเป็นเลิศ (Excellent Center) และ
                     เชี่ยวชาญเฉพาะที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการในสาขาที่สอดคล้องกับกลุ่มอาชีพ และกลุ่มอาชีพ

                     ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศ อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S Curve) โดยความร่วมมือ

                     กับกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การปรับหลักสูตรภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ อุปกรณ์เครื่องมือ
                     ตลอดจนการพัฒนาครูวิชาชีพในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญ และสร้างขีดความสามารถ

                     ในการแข่งขันของประเทศปรับหลักสูตร ความรู้ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบันและเทคโนโลยี
                     ดิจิทัลนำไปสู่การส่งเสริมนักเรียน นักศึกษาให้สามารถนำความรู้และทักษะไปประกอบอาชีพ

                     และเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชน

                     ให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและสามารถยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนา
                     กำลังคนอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะ สอดรับกับความต้องการของสถานประกอบการและตลาดแรงงาน

                     ในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

                                    ปัญหาและอุปสรรค  การพัฒนาครูผู้สอนให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา
                                                                                            ั
                     และครูผู้สอนขาดความเข้าใจในเรื่องของการจัดตั้งศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพฒนากำลังคน
                     อาชีวศึกษา และสิ่งสำคัญคือการฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการเพื่อให้มีทักษะ ในการปฏิบัติงาน
                     ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันยังขาดงบประมาณในการสนับสนุน ขาดครุภัณฑ์

                     ทั้งมีความทันสมัยและเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน ขาดการสนับสนุนงบประมาณแก่โรงเรียนที่มีนักเรียน

                     เข้าร่วมโครงการ
                                   ข้อเสนอแนะ  จัดส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้ารับ

                     การฝึกอบรม พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และหมุนเวียนเพื่อให้เกิดความรู้และประสบการณ์



                     ---------------------------------------------------------------------------------
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166