Page 157 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 157

137




                     16.150  จังหวัดขอนแก่น ร้อยละ 12.875  ตามลำดับ และ จังหวัดร้อยเอ็ด มีอัตราการออกกลางคัน
                     น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 11.846

                               5) ด้านการตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy)
                                 ดัชนีที่ 11  สัดส่วนของผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อผู้เรียนสามัญศึกษา

                                      จากข้อมูลดัชนีทางการศึกษา ระดับภาค 1–18  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

                     ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปรากฏข้อมูลสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อผู้เรียนสามัญ
                     ศึกษา ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 39.49 : 60.51  และเมื่อพิจารณา

                     รายพื้นที่  พบว่า มีเพียงผู้เรียนอาชีวศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 8

                     (51.47 : 48.53) ที่มีร้อยละของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าผู้เรียนสามัญศึกษา นอกจากนั้นร้อยละ
                     ของผู้เรียนอาชีวศึกษาต่ำกว่าผู้เรียนสามัญศึกษาในทุกพื้นที่ โดยพื้นที่ที่มีผู้เรียนอาชีวศึกษา

                     มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 8 (51.47 : 48.53) รองลงมา

                     คือ พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 14 (47.16 : 52.84) และพื้นที่รับผิดชอบ
                     ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 (46.68 : 53.32) ตามลำดับ  สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน

                     ศึกษาธิการภาค 12  ร้อยละของผู้เรียนสามัญศึกษาสูงกว่าร้อยละของผู้เรียนอาชีวศึกษา คิดเป็น
                     สัดส่วน 55.80 : 44.20

                                   เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อผู้เรียนสามัญศึกษา ในปีการศึกษา

                     2563 และปีการศึกษา 2564 พบว่า  ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 12
                     ปีการศึกษา 2563  มีสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อผู้เรียนสามัญศึกษา คือ 38.28 : 61.72  และ

                     ปีการศึกษา 2564 มีสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อผู้เรียนสามัญศึกษา คือ 44.20 : 55.80  จากการ
                     เปรียบเทียบดังกล่าว จะเห็นว่าทั้ง 2 ปีการศึกษา มีร้อยละของผู้เรียนอาชีวศึกษาต่ำกว่าร้อยละ

                     ของผู้เรียนสามัญศึกษาแต่แนวโน้มการเข้ารับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.1-3)

                                        ิ่
                     มีการเข้ารับการศึกษาเพมขึ้น


                           3.2.3 สภาวการณ์ด้านคุณภาพการศึกษาในพื้นที่

                                 จากรายงานสรุปผลการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลประเด็นนโยบายเร่งด่วน
                     ของกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 12 (ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม) กรณี

                     ปกติ รอบที่ 2  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานหน่วยงาน
                     สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่ รับทราบปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และรายงานผลการจัด

                     การศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบและนโยบายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4

                     นโยบาย ได้แก่ นโยบายด้านการพัฒนาครูและการจัดการเรียนการสอน นโยบายด้านการสร้างโอกาส
                     ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม  นโยบายด้านความร่วมมือ  และนโยบายด้านเทคโนโลยี

                     เพื่อการศึกษา สรุปรายละเอียดดังนี้



                     ---------------------------------------------------------------------------------
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162