Page 37 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 37
บทที่ 1 กระบวนทัศน์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน 26
การท่องเที่ยวก็จะท าลายต้นทุนของตนเอง ธุรกิจการท่องเที่ยวก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ ดังนั้น “ความยั่งยืน
ุ
ของทรัพยากร” จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อความอยู่รอดของธุรกิจในอตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เมื่อนิสิตได้ศึกษาและท าความเข้าใจเนื้อหาในบทนี้แล้ว นิสิตการท่องเที่ยว ในฐานะผู้ให้บริการ
ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงจากทรัพยากร จึงควรจะต้องเป็นผู้ตระหนักรู้ถึง
ความส าคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้งมีจิตส านึกที่ดีต่อการบริโภคเท่าที่จ าเป็น
เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดแนวคิดนี้สู่ผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม การน าหลักของการพฒนาอย่างยั่งยืนไปใช้เพอให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ั
ื่
ควรพิจารณาถึงบริบทของสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตร่วมด้วย หลักคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแบบ
ของสังคมไทยได้ถือปฏิบัติกันมาในยุคเดียวกับที่มีมาในสังคมตะวันตก หากแต่ได้มีการปรับให้เข้ากับความ
ี
เป็นไทย โดยน้อมน าเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยง ซึ่งกล่าวถึงการพฒนา “คน” ตามหลักของ
ั
พุทธศาสนา ด้วยการเจริญศีล สมาธิ และปัญญา ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนอยู่
กับสังคมไทยมายาวนาน หากได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดอย่างจริงจังแล้ว ก็จักน ามาซึ่งความคงอยู่ของ
ธรรมชาติ วัฒนธรรม และสังคม
ค าถามทบทวน
1. เหตุใดทั่วโลกจึงหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. หลักและวิธีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแบบสังคมไทย มีแนวทางและวิธีปฏิบัติอย่างไร
3. ให้นิสิตอานบทความในภาคผนวก 1 ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมของ Green Peace และร่วม
่
อภิปรายประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบ พร้อมทั้งช่วยกันหาแนวทางในป้องกันหรือแกไขปัญหา
้
เอกสารอ้างอิง
ชยาภรณ์ ชื่นรุ่งโรจน. ์ (2537). การวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระธรรมปฎก (ประยุทธ ปยุตโต). (2539). เศรษฐศาสตรแนวพุทธ พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ
พุทธรรม.
พระธรรมปฎก (ประยุทธ ปยุตโต). (2541). การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระธรรมปฎก (ประยุทธ ปยุตโต). (2542). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ) พิมพครั้งที่ 6.
กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.