Page 52 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 52

บทที่ 3 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง     41





                             3) เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างความเชื่อมั่นเชิงเศรษฐกิจในระยะยาว ให้ผลประโยชน์
                     ทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มให้กระจายอย่างเป็นธรรม รวมถึงการจ้างงานที่มั่นคง
                                                           ื่
                     และโอกาสในการหารายได้และบริการสังคมเพอชุมชน
                             นอกจากนี้ ในการประชุม Globe'90 ณ ประเทศคานาดา ได้ให้ค าจ ากัดความ “การท่องเที่ยว
                     อย่างยั่งยืน” หมายถึง
                                “การพฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่น
                                    ั

                       ในปัจจุบัน โดยมีการปกป้องและสงวนรักษาโอกาสต่าง ๆ ของอนุชนรุ่นหลัง การท่องเที่ยวนี้ หมายถึง

                                           ื่
                       การจัดการทรัพยากรเพอตอบสนองความจ าเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความงามทางสุนทรียภาพ

                       ในขณะที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศด้วย"

                                                                                                        ั
                             ส าหรับการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) นั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพฒนา
                     อย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้อธิบายว่า เป็นการ
                     เดินทางท่องเที่ยว รวมถึงการจัดบริการอน ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดย 1) ต้องด าเนินการภายใต้
                                                         ื่
                     ขีดความสามารถของธรรมชาติ ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มีต่อขบวนการ
                     ท่องเที่ยว 2) ต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน และชุมชน ค านึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี

                     วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มีต่อการท่องเที่ยว 3) ต้องยอมรับให้ประชาชนทุกส่วนได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
                     ที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน 4) ต้องชี้น าภายใต้ความต้องการของประชาชนท้องถิ่น
                     และชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยวนั้น


                               จากการประชุมระดับโลกเรื่องสิ่งแวดล้อม (Earth Summit, 1992) ในปี พ.ศ. 2535 ที่ นคร ริโอ
                       เด จาเนโร ประเทศบราซิล นับเป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันความคิด เรื่อง “การพฒนาที่ยั่งยืน
                                                                                                 ั

                       (Sustainable Development)” ส่งผลถึงการให้ความส าคัญเรื่อง “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน” จากกระแส

                       การพัฒนาการท่องเที่ยว 3 ประการ กล่าวคือ

                           - กระแสความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                           - กระแสความต้องการของนักทองเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
                                                     ่

                           - กระแสความต้องการในการพัฒนาและให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น



                             จากข้างต้น เห็นได้ว่า การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นการจัดการกับทรัพยากรการท่องเที่ยว
                     โดยการปฏิบัติการตามความต้องการของสุนทรียภาพ เศรษฐกิจและสังคม และรักษาขนบธรรมเนียม
                     ประเพณีและวัฒนธรรม กระบวนการทางนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบของสิ่งมีชีวิต
                     ไว้ด้วย นอกจากนี้แล้ว การได้รับผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ-สังคมที่เกิดจากการกิจกรรมทางด้าน

                                                 ื้
                     การท่องเที่ยว จะต้องตั้งอยู่บนพนฐานของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมด้วย บุญเลิศ
                     จิตตั้งวัฒนา (2542) ได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนว่า หมายถึง “การท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่
                     หรือกลุ่มเล็กที่มีการจัดการอย่างดีเยี่ยม เพราะสามารถด ารงไว้ซึ่งทรัพยากรท่องเที่ยวให้มีความดึงดูดใจ

                     อย่างไม่เสื่อมคลาย และธุรกิจท่องเที่ยวมีการปรับปรุงคุณภาพให้ได้ผลก าไรอย่างเป็นธรรม โดยมี
                     นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยียนอย่างสม่ าเสมอ อย่างเพียงพอ แต่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
                     และให้คงอยู่อย่างยืนยาว” นอกจากนี้ ยังอธิบายลักษณะของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนไว้ว่า
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57