Page 55 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 55
บทที่ 3 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 44
ประชาชนในชุมชน และการปรับปรุงมาตรฐานชีวิต โดยที่ยังคงรักษาสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวและ
มรดกทางวัฒนธรรมไว้ได้
อานาจ งามบุญรัตน์ (2543, หน้า 16) ได้กล่าวว่า การพฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมายถึง
ั
ื่
การบริหารจัดการกับทรัพยากรการท่องเที่ยว เพอตอบสนองความจ าเป็นทางเศรษฐกิจและสังคม โดยการ
ใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอนทรงคุณค่าอย่างรอบคอบและชาญฉลาด ท าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ั
เกิดปัญหาหรือผลกระทบน้อยที่สุด ขณะเดียวกันคุณภาพของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะต้องดีขึ้น แม้ว่า
จะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นก็ตาม
ั
ธนธรณ์ ทองหอม (2551) ได้ให้ความหมายของการพฒนา (ทรัพยากร) การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
ไว้ว่า หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิมไปสู่สภาพใหม่ที่ดีขึ้นเหมาะสมกับความต้องการ
ของนักท่องเที่ยวเพอดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปเยี่ยมเยือนในขณะเดียวกันต้องอนุรักษ์ทรัพยากร
ื่
ท่องเที่ยวควบคู่กันไป โดยการใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวอย่างชาญฉลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยาวนาน
ที่สุด แต่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ั
จากนิยามหรือความหมายข้างต้น ท าให้สามารถจ าแนกองค์ประกอบของการพฒนาทรัพยากร
ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนว่าประกอบไปด้วย
1) การวางแผนและการจัดการที่ดี
การวางแผนที่ดี นั้นควร:
- มีการประเมินแหล่งท่องเที่ยวเบื้องต้น
- เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างชุมชนกับคนภายนอก
- มุ่งสร้างการท างานระหว่างกลุ่มคนให้เป็นเครือข่ายการท างาน
- มีการให้ความรู้แก่ประชาชนด้านการบริหารจัดการ ปัญหาการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยว
เพื่อเป็นข้อมูลตัดสินการพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
- ให้ความส าคัญกับการสร้างตลาดที่เข้มแข็งให้กับบุคคลในท้องถิ่น ตั้งแต่แหล่งท่องเที่ยว
บุคลากร ราคา และการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เหมาะสม กับแหล่งท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆ
ั
- ชุมชนควรมีส่วนร่วมในด้านเศรษฐกิจ คือ มีรายได้เข้ามาพฒนาท้องถิ่น ทั้งในด้าน
โครงสร้างพื้นฐาน ชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น
- มีการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ประวัติศาสตร์
และวัฒนธรรมอันดีงามของคนในท้องถิ่นตนเอง
การบริหารจัดการที่ดี นั้นควร:
- กระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของตน
- จัดระบบนิเวศการท างานที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่ม หรือเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
- จัดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการด าเนินธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น
ตลาดการท่องเที่ยว
่
- สอดแทรกกระบวนการถ่ายทอดความรู้แก่นักทองเที่ยว
- มีระบบการสะท้อนความคิดเห็นจากชุมชน และเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม
ในการตัดสินใจ การประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยว รวมถึงการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
จากการท่องเที่ยว
- มีนโยบายในการปฏิบัติงานและการพัฒนา รวมถึงหลักเกณฑ์ของความยั่งยืน
- มีกรอบนโยบายหรือการวางแผนในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน