Page 57 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 57
บทที่ 3 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 46
ั
การวางแผนการพฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีปัจจัยชี้วัด ได้แก่ องค์กรท้องถิ่นมีแผน
ั
ั
การพฒนาที่มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ที่สอดคล้องตอบสนองต่อหลักการการพฒนาการท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืน และในแผนปฏิบัติการ กิจกรรม หรือแนวทางการด าเนินการที่ชัดเจนในการตอบสนอง
เป้าหมายการพฒนานั้น ๆ นอกจากนี้ ยังมีตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานอน ๆ ประกอบด้วย เช่น การออกแบบ
ื่
ั
สาธารณูปโภคและสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ ให้สอดคล้องกลมกลืนกับท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล
ทักษะความรู้ต่าง ๆ ระหว่างท้องถิ่นด้วยกัน การฝึกอบรม และเพมพนความรู้จิตส านึกของคนในท้องถิ่น
ู
ิ่
การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งประกอบด้วยสัดส่วนของคนท้องถิ่นที่เข้าร่วม ลักษณะการมีส่วนร่วม
ความถี่ของการมีส่วนร่วม ความคิดเห็น และความเต็มใจของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ รวมถึงเรื่องของ
การประเมินผลการจัดการ ความสอดคล้อง และครอบคลุมถึงเป้าหมายประเด็นการคุ้มครองรักษา
ี
ทรัพยากร และเรื่องพันธมิตรเครือข่ายที่สนับสนุนหรือร่วมมือในการจัดการให้เกิดความยั่งยืนร่วมกันอกด้วย
จากแนวทางข้างต้นจะเห็นได้ว่า หน้าที่ในการวางแผนพฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มิใช่หน้าที่
ั
ื้
ั
ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนในพนที่ท่องเที่ยวที่ต้องการพฒนา โดยมี
เจ้าภาพหลักคือภาครัฐ และภาคประชาชนประสานความร่วมมือในลักษณะการจัดการด้วยความร่วมมือกัน
(Co-Management)
3.2.2 เครื่องมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การท่องเที่ยวนั้นนับได้ว่าเป็น “ผลิตภัณฑ” ที่จัดการได้ยาก เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ผสมที่เกิดจาก
์
ี
กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลาย ๆ ประเภท ประกอบเข้าด้วยกัน อกทั้งยังไม่สามารถระบุความวิกฤติของ
ทรัพยากรที่อยู่อย่างจ ากัดได้ โดยมีความพยายามจัดการหลายวิธีการด้วยกัน เช่น การหาขีดความสามารถ
การรองรับของแหล่งท่องเที่ยว (Carrying Capacity) อย่างไรก็ตาม การรองรับจ านวนนักท่องเที่ยว
ื้
ในแต่ละพนที่ก็มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทความหนาแน่นของกิจกรรม และรวมถึงปัจจัย
ทางด้านเทคโนโลยีด้วย
ั
นอกจากนี้แล้ว การแข่งขันทางการตลาดการท่องเที่ยวนับว่า มีผลต่อการพฒนาและความ
ี
เสื่อมโทรมของทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่นับได้ว่าเป็นต้นทุนทางการท่องเที่ยวอกด้วย
ื่
ดังนั้น กลยุทธ์ในการวางแผนการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพอให้เกิดความยั่งยืน จึงมีความส าคัญอย่างยิ่ง
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
- จะต้องหาผู้มีส่วนร่วมได้เสีย (Stakeholders) เช่น ชุมชน กลุ่มทางด้านสิ่งแวดล้อม องค์กร
ั
รัฐบาล องค์กรพฒนาเอกชน ซึ่งจะต้องร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อการพฒนาการท่องเที่ยว ตั้งแต่
ั
การวางแผน การปฏิบัติการ การตรวจสอบ และการแก้ไข
- รูปแบบในการท่องเที่ยวที่เหมาะสม เช่น ขนาดของการท่องเที่ยวเล็กและก่อให้เกิดผลกระทบต่ า
เน้นที่การปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการใช้วัสดุและผลผลิตในท้องถิ่น การให้ข้อมูลข่าวสาร
แก่นักท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าใจและเคารพในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้น ๆ
- ทรัพยากรธรรมชาติและสังคมจะต้องมีความยั่งยืน ซึ่งหมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของเจ้าของบ้าน
(ประชาชนในชุมชน) หมายถึงว่าจะต้องมีการวางแผนการพฒนาการท่องเที่ยว และการจัดการ
ั
การท่องเที่ยวที่ดี จะต้องมีนโยบายในการปฏิบัติงานและการวางแผน และรวมถึงหลักเกณฑ์ของความ
ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว
- สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจะต้องมีความยั่งยืน โดยมีการประเมินผลกระทบด้าน
สิ่งแวดล้อม การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวและ
การตรวจวัดบัญชีต้นทุนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม