Page 38 - การเกษตรผสมผสาน (ม.ปลาย).docx
P. 38
ื่
ประเมินผลตามสภาพจริงเป็นกระบวนการที่ใช้เพออธิบายถึงภาระงานที่แท้จริงหรือ real task ที่ผู้เรียนจะต้อง
ปฏิบัติหรือสร้างความรู้ ไม่ใช่สร้างแต่เพียงข้อมูลสารสนเทศ การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงานเป็นวิธีการของ
การประเมินที่มีองค์ประกอบสำคัญคือ
- ให้ผู้เรียนได้แสดงการกระทำ - ลงมือปฏิบัติ
- สาธิตหรือแสดงทักษะออกมาให้เห็น
- แสดงกระบวนการเรียนรู้
- ผลิตชิ้นงานหรือหลักฐานว่าเขาได้รู้และเขาทำได้
ซึ่งการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงานหรือการประเมินตามสภาพจริง โดยวิธีการดังกล่าวนี้จะมีลักษณะที่สำคัญ คือ
- ชิ้นงานที่มีความหมาย (meaningful tasks)
- มีมาตรฐานที่ชัดเจน (clear standard)
- มีการให้สะท้อนความคิด ความรู้สึก (reflections)
ั
- มีการเชื่อมโยงกบชีวิตจริง (transfer)
- เป็นการปรับปรุงและบูรณาการ (formative integrative)
- เกี่ยวข้องกบการคิดในลำดับที่สูงขึ้นไป (high – order thinking)
ั
- เน้นการปฏิบัติที่มีคณภาพ (quality performance)
ุ
ุ
- ได้ผลงานที่มีคณภาพ (quality product)
5. ลักษณะของแฟ้มสะสมงาน
นักการศึกษาบางท่านได้กล่าวว่าแฟ้มสะสมงานมีลักษณะเหมือนกับจานผสมสี ซึ่งจะเห็นได้ว่าจานผสม
สีเป็นส่วนที่รวมเรื่องสีต่าง ๆ ทั้งนี้แฟ้มสะสมงานเป็นสิ่งที่รวมการประเมินแบบต่าง ๆ เพื่อการวาดภาพให้เห็น
ว่าผู้เรียนเป็นอย่างไร แฟ้มสะสมงานไม่ใช่ถังบรรจุสิ่งของ (Container) ที่เป็นที่รวมของสิ่งต่าง ๆ ที่จะเอาอะไร
มากองรวมไว้หรือเอามาใส่ไว้ในที่เดียวกัน แต่แฟ้มสะสมงานเป็นการรวบรวมหลักฐานที่มีระบบและมีการ
จัดการโดยครูและผู้เรียนเพื่อการตรวจสอบความก้าวหน้าหรือการเรียนรู้ด้านความรู้ ทักษะและเจตคติในเรื่อง
เฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่ง
6. จุดมุ่งหมายของการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน มีดังนี้
- ช่วยให้ครูได้รวบรวมงานที่สะท้อนถึงความสำคัญของนักเรียนในวัตถุประสงค์ใหญ่ของการเรียนรู้
- ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถจัดการเรียนรู้ของตนเอง
- ช่วยให้ครูได้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในความก้าวหน้าของผู้เรียน
- ช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจตนเองมากยิ่งขึ้น
- ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้า ตลอดช่วงระหว่างการเรียนรู้
- ช่วยให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงประวัติการเรียนรู้ของตนเอง
- ช่วยทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างการสอนกับการประเมิน
7. กระบวนการของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
การจัดทำแฟ้มสะสมงาน มีกระบวนการหรือขั้นตอนอยู่หลายขั้นตอน แต่ทั้งนี้ก็สามารถปรับปรุงได้
อย่างเหมาะสม Kay Burke (1994) และคณะ ได้กำหนดขั้นตอนของการทำแฟมสะสมงานไว้ 10 ขั้นตอน
้
ดังนี้
- ขั้นการรวบรวมและจัดระบบของผลงาน
- ขั้นการเลือกผลงานหลักตามเกณฑ์ทกำหนด
ี่