Page 201 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 201

192


                         “ปัญหา” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ข้อสงสัย ความสงสัย สิ่งเข้าใจยาก

               สิ่งที่ตนไม่รู้หรือค าถาม อันได้แก่โจทย์ในแบบฝึกหัด หรือข้อสอบเพื่อประเมินผล เป็นต้น ปัญหาจะหมาย
               รวมถึง ปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัว ปัญหาเพื่อนร่วมงาน ปัญหาจากผู้บังคับบัญชา ปัญหาจากสภาวะ

               สิ่งแวดล้อมและอื่น ๆ

                         ปัญหาเกิดขึ้นได้ 2 ทาง คือ

                         1)  ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น เมื่อเศรษฐกิจทรงตัวหรือซบเซา ท าให้รายได้ของเรา
               ลดน้อยลง คนในสังคมมีการดิ้นรนแก่งแย่งกัน การเอาตัวรอด การลักขโมย จี้ ปล้น ฆาตกรรม ส่งผลกระทบ

               ต่อความเป็นอยู่และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาหลายเรื่องสืบเนื่องมาจากสุขภาพอนามัย

               ภัยจากสิ่งเสพติดหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นต้น
                         2)  ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายใน คือปัญหาจากตัวมนุษย์เอง คือ ปัญหาที่เกิดจากกิเลสในจิตใจ

               ของมนุษย์ ซึ่งมี 3 เรื่องส าคัญคือ โลภะ ได้แก่ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น มากขึ้นกว่าเดิม มีการดิ้นรน

               แสวงหาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีความพอเพียง เมื่อแสวงหาด้วยวิธีสุจริตไม่ได้ ก็ใช้วิธีการทุจริต ท าให้
               เกิดความไม่สงบ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ไม่มีที่สิ้นสุด โทสะ ได้แก่ความโกรธ ความอาฆาตพยาบาท

               คนอื่น ความคิดประทุษร้ายคนอื่น โมหะ ได้แก่ ความไม่รู้ หรือรู้ไม่จริง หลงเชื่อค าโกหก หลอกลวง ชักชวน

               ให้หลงกระท าสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ท าเรื่องเสียหาย หลงผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เป็นต้น
                      2. ขั้นหาสาเหตุของปัญหา ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนที่จะ

               วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา เป็นตัวต้นตอของปัญหาทั้งที่เป็นต้นเหตุโดยตรง และที่

               เป็นสาเหตุทางอ้อม ทั้งนี้ต้องวิเคราะห์จากสาเหตุที่หลากหลายและมีความเป็นไปได้หลาย ๆ ทาง

               การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาอาจท าได้ง่าย ๆ ใน 2 วิธี คือ
                        1)  การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการน าเอาข้อมูลที่หลากหลายด้านต่าง ๆ มาแยกแยะและจัดกลุ่ม

               ของข้อมูลส าคัญ ๆ เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สภาวะแวดล้อม วิทยาการใหม่ ๆ นโยบายและ

               ทิศทางในการบริหารจัดการ ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี ฯลฯ ข้อมูลที่น ามาวิเคราะห์นี้เมื่อจ าแนกแล้ว สาเหตุ

               ของปัญหาอาจมาจากข้อมูลอย่างน้อย 3 ประการ คือ
                            -  สาเหตุส าคัญมาจากตนเอง จากพื้นฐานของชีวิตตนเองและครอบครัว ความไม่สมดุล

               ของการงานอาชีพที่พึงปรารถนา ความขัดข้องที่เกิดจากโรคภัยของตนเอง ความโลภ โกรธ หลง ในใจของ

               ตนเอง ความคับข้องใจในการรักษาคุณธรรม จริยธรรมของตนเอง ฯลฯ
                            -  สาเหตุส าคัญมาจากสังคม ชุมชนและสภาวะแวดล้อม ความไม่พึงพอใจต่อพฤติกรรม

               ไม่พึงปรารถนาของเพื่อนบ้าน การขาดแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ ชุมชนมีการทะเลาะเบาะแว้ง

               ขาดความสามัคคี ฯลฯ
                            -  สาเหตุส าคัญมาจากการขาดแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ความเคลื่อนไหวที่เป็นปัจจุบัน

               ของวิชาการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องขาดภูมิปัญญาที่จะช่วยเติมข้อมูลทางปัญญาในการบริหารจัดการฯลฯ

                        2)  การวิเคราะห์สถานการณ์ โดยการน าเอาสภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ มาพัฒนาหาค าตอบ โดย
               พยายามหาค าตอบในลักษณะต่อไปนี้ให้มากที่สุด คือ อะไร ที่ไหน เมื่อไร เพียงใด ตัวอย่างเช่น
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206