Page 197 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 197

188


               เรื่องที่ 2  คิดเป็นและกระบวนการคิดเป็น

               2.1   แนวคิดและทิศทางของการคิดเป็น

                       “คิดเป็น” เป็นค าไทยสั้น ๆ ง่าย ๆ ที่ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ใช้เพื่ออธิบายถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์
               ของคนในการด ารงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และซับซ้อน ได้อย่างปกติสุข

               “คิดเป็น” มาจากความเชื่อพื้นฐานเบื้องต้นที่ว่าคนมีความแตกต่างกันเป็นธรรมดา แต่ทุกคนมีความต้องการ

               สูงสุดเหมือนกันคือความสุขในชีวิต คนจะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อมีการปรับตัวเองและสังคม สิ่งแวดล้อมให้

               เข้าหากันอย่างผสมกลมกลืนจนเกิดความพอดี น าไปสู่ความพอใจและมีความสุข อย่างไรก็ตามสังคม
               สิ่งแวดล้อมไม่ได้หยุดนิ่ง แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงอยู่ตลอดเวลาก่อให้เกิดปัญหา

               เกิดความทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจขึ้นได้เสมอ กระบวนการปรับตนเองกับสังคมสิ่งแวดล้อม

               ให้ผสมกลมกลืนจึงต้องด าเนินไปอย่างต่อเนื่องและทันการ คนที่จะท าได้เช่นนี้ต้องรู้จักคิด รู้จักใช้สติปัญญา

               รู้จักตัวเองและธรรมชาติสังคมสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี สามารถแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างหลากหลาย
               และพอเพียง อย่างน้อย 3 ประการ คือ ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลทางสังคมสิ่งแวดล้อม และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

               กับตนเองมาเป็นหลักในการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อเลือกแนวทางการตัดสินใจที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา หรือ

               สภาพการณ์ที่เผชิญอยู่อย่างรอบคอบ จนมีความพอใจแล้วก็พร้อมจะรับผิดชอบการตัดสินใจนั้น
               อย่างสมเหตุสมผล เกิดความพอดีความสมดุลในชีวิตอย่างสันติสุข เรียกได้ว่า “คนคิดเป็น” กระบวนการ

               คิดเป็น อาจสรุปได้ดังนี้
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202